วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความจริงเรื่องไคโตซาน และการทำธุรกิจที่หยั่งยืน 
ใคร ๆ ก็คิดว่าการทำไคโตซานเพื่อใช้เร่งการเติบโตต้นไม้เป็นเรื่องง่าย ที่จำหน่ายกันก็เป็นไคโตซานผงบ้าง ไคโตซานน้ำบ้าง ไคโตซานผงก็ให้ไปละลายในน้ำส้มสายชู ไม่ละลายหมดก็ใส่ลงไปอีก ลองไปก็ไร้ประโยชน์เพราะใส่เท่าไร่ก็ไม่ละลาย จะเป็นวุ้นเป็นก้อนขุ่น

คนที่มีความรู้หน่อยก็เอากรดอะซิติกเข้มข้น 99% ใส่เข้า ก็ละลายหมด แล้วเจือจางจนใส ขายเลย ได้กำไรเยอะมาก ส่วนมากทำเป็น MLM ที่คนใช้ก็ขายด้วย ต้องมีหัวคิวก่อน รวยกันใหญ่ จนซื้อรถขี่กันได้

ความจริงมีมากกว่านั้น ไคโตซานผงที่ซื้อมา ยังไม่รู้เลยว่าแท้หรือเปล่า อาจเป็นเปลือกกุ้งเอามาบดเฉยๆ ซึ่งยังเป็นไคตินที่ปนด้วยหินปูนกับโปรตีน ไคตินหลังบริสุทธิ์ยังต้องทำให้เป็นไคโตซานอีกโดยต้มกับด่างเข้มข้นหลาย ๆ ครั้ง เพื่อเปลี่ยนไคตินให้เป็นไคโตซาน แล้วต้องหาว่าเป็นไคโตซานกี่ % ยิ่งต้มกับด่าง หลายครั้งก็ยิ่งได้ไคโตซาน % มากขึ้น เรียกว่ามี degree of DE acetylation (DD) สูงขึ้นปกติต้องให้ DD มากกว่า 80% จึงจะดี แล้วยังไม่จบแค่นี้ ยังต้องเอาไปตัดสายโซ่โมเลกุล ของไคโตซานให้สั้นลงอีก สั้นเท่าไหร่จึงจะดี ก็ต้องทำวิจัยกันอีก ต้องมีเครื่องมือวิเคราะห์

ทดลอบ แล้วพอจะขายก็ต้องกำหนดว่าจะทำเป็นความเข้มข้นเท่าไหร่ เมื่อผสมน้ำฉีดต้นไม้แล้ว จึงงามดี ที่ทำกัน จะให้ดูดีก็เอาสีผสมลง ความเข้มข้นในขวดเท่าไหร่ก็ไม่บอก บอกแต่ให้เจือจาง เท่าโน้นเท่านี้ ถ้าบอกว่าเจือจางมากได้ ก็ดูดี แต่ใช้แล้วไม่ได้ผล เสียสตางค์เปล่า ถูกหลอกเข้าแล้ว

กรมวิชาการเกษตรน่าจะออกมาตรฐานมา เหมือนกับปุ๋ย แล้วต้องสุ่มตัวอย่างในท้องตลาดมาตรวจสอบ เป็นครั้งคราว ไม่งั้นเกษตรกรจะถูกเอาเปรียบมาก มีปัญหาเรื่องปลอมปน หรือเอาไคโตซานน้ำที่ใช้ไคโตซาน ไม่ได้ปรับขนาดโมเลกุลมาเจือจางด้วยน้ำมาก ๆ ขายแพงๆ ใช้ได้ผลน้อยมาก ไม่คุ้มค่าเงินที่เสียไป ขอให้เกษตรกรจงพึงระวังไว้

ที่สำคัญบางบริษัทผลิตไคโตซานแบบตีหัวเข้าบ้าน อย่าทำเลยครับ เพราะว่าเขาจะชื้อคุณแค่ครั้งเดียวเท่านั้นละเขาก็เข็ดแล้ว อีกอย่างถ้าสินค้าไม่ดีคุณก็เสียชื่อเสียงด้วย แต่ถ้าสินค้าเราดีจริงใช้แล้วได้ผล บอกต่อได้ การทำธุรกิจมันก็ง่าย การทำธุรกิจที่ดีเราต้องมองในระยะยาว มองไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น