วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

W3C คืออะไร

W3C คืออะไร

W3C ย่อมาจาก World Wide Web Consortium เป็นองค์กรสากลที่ทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยี WWW ก่อตั้งเมื่อ ปี 1994 นำโดย นาย Tim Berners- Lee ได้รับความร่วมมือจากสามสถาบันหลัก คือ MIT/CSAIL สหรัฐอเมริกา ERCIM ฝรั่งเศส และ Keio University ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ทั่วโลก ในการร่วมกันพัฒนามาตรฐานเว็บไซต์เพื่อรับรองการเจริญเติบโตในอนาคต (http://www.w3.org/)

การที่เราออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานเว็บไซต์ของ W3C ก็เปรียบเสมือนเว็บเราจะได้รับการการันตีว่าไม่มีข้อบกพร่อง ทาง Search Engine เองก็จะต้องให้ค่าความสำคัญเพิ่มขึ้นอีกมาก เราอาจจะเคยสังเกตเห็นเว็บไซต์หลายๆ เว็บที่ได้รับมาตรฐานนี้และสามารถนำเอาสัญลักษณ์มาตรฐานของ W3C ดังรูปที่ 3-1 มาติดไว้หน้าเว็บ

สำหรับที่อยู่เว็บไซต์ที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องตามมาตรฐานของ W3C คือ http://validator.w3.org/ ซึ่งสามารถทำได้โดย 3 วิธีด้วยกัน คือ
1. ตรวจสอบ code ด้วย URL (Validate By URL)
2. อัพโหลดไฟล์ขึ้นไปตรวจสอบ (Validate By File Upload)
3. ตรวจสอบด้วยการคัดลอก code ขึ้นไปวาง (Validate By Direct Input)

ขั้นตอนของการออกแบบเว็บไซต์ให้ถูกต้องและได้มาตรฐานเป็นสิ่งที่เราควรคำนึงให้มาก เนื่องจากว่าพอทำเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกเสร็จแล้วจะได้ทำการโปรโมทตามวิธีทาง SEO อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องมาคอยพะวงกับการแบนเว็บไซต์จากทาง Search Engine ซึ่งหลายกรณีมากที่บางเว็บไซต์ต้องถูกเพ่งเล็ง ไม่ว่าจะติดอยู่ใน Sandbox Effect หรืออย่างหนักคือ โดน De-Index ไปเลย ขั้นตอนตรงนี้เองครับที่เราสามารถนำเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกของเราฝ่าด่านการกลั่นกรองของ Search Engine หรือแม้กระทั่งฝ่าด่านของการแข่งขันที่มีเว็บไซต์รายอื่นอยู่เป็นคู่แข่งของเรา ยังมีมากมายนักที่มีรูปแบบของการออกแบบและจัดทำเว็บไม่ถูกต้องตามหลักและมาตรฐานของเว็บครับ

Thailand SEO BLOG

มาตรฐานเว็บไซต์

มาตรฐานเว็บไซต์

ต่อความในเรื่องจรรยาบรรณของการจัดทำเว็บไซต์ เราจำเป็นจะต้องทราบเกี่ยวกับ มาตรฐานเว็บไซต์ หรือ Web Standards ถึงจะได้นำไปสู่ขั้นตอนการทำงานจริง ซึ่ง Web Standards จะเป็นเสมือนสิ่งที่ทำให้ Search Engine มีความสามารถในการนำเว็บเพจเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลหรือที่เรียกว่า Index ได้ โดยในที่นี้ผมจะขอแนะนำ มาตรฐานเว็บไซต์ ที่กำหนดไว้ใน Google Webmaster Guidelines ถือว่าเป็นมาตรฐานเว็บไซต์ที่ดีอย่างหนึ่ง
Google ได้ให้ข้อแนะนำในส่วนของการออกแบบเว็บไซต์และการนำเสนอเนื้อหา ดังนี้
1. ควรทำเว็บเพจที่ดูง่ายๆ ชัดเจนทั้งลำดับ เนื้อหา สามารถเปิดหาหรือเข้าถึงได้ง่าย ทุกๆ หน้าควรมีลิงก์เชื่อมโยงอย่างน้อยหนึ่งลิงก์
2. ควรมีการจัดทำ sitemap (มีขั้นตอนในภาคปฏิบัติการ SEO) ไว้แก่ผู้เข้าชมด้วยการรวมลิงก์ไปหน้าต่างๆ ที่สำคัญ หาก sitemap ใหญ่เกินไปหรือมีลิงก์มากเกินกว่า 100 ลิงก์ ควรแบ่ง sitemap ออกเป็นประเภทๆ ไป
3. ควรเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมเนื้อหาที่ดี มีประโยชน์ เขียนด้วยภาษาที่ถูกต้องชัดเจน
4. ควรคำนึงถึงผู้เข้าเยี่ยมชมที่ทำการค้นหาเข้ามาด้วย Keyword ต่างๆ และเนื้อหาในเว็บไซต์ก็ต้องมี Keyword นั้นๆ ปรากฏอยู่หรือสัมพันธ์กัน
5. พยายามใช้ตัวอักษรที่เป็นชื่อแทนการใช้รูปภาพหรือกราฟิก หากจำเป็นต้องใช้รูปภาพก็ควรมีคำบรรยายเป็น tag alt ไว้ เพราะจะเป็นผลดีการกับเข้ามาของ spiders หรือ bots ด้วย
6. เขียน title tag (หัวเรื่องเว็บเพจ) หรือ tags อื่นๆ ให้มั่นใจได้ว่าเป็นเว็บเพจของเรา และสามารถบ่งบอกความเป็นตัวตนของเว็บได้ พร้อมทั้งตรวจสอบลิงก์ที่เสียหรือลิงก์ที่ผิด และแก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อย
7. การใช้เว็บไซต์จำพวก Dynamic Page (ตัวอย่างเช่น หน้าเว็บที่มี “?” ในไฟล์ด้วย) spiders หรือ bots จะเข้าถึงได้ยากกว่าหน้าเว็บธรรมดา ดังนั้นถ้าจำเป็นจะต้องมี Dynamic Page จริงๆ ก็ควรมีไม่มากจนเกินไป

Webmaster Guidelines ของ Google ถือว่าเป็นข้อมูลที่ดีในการที่จะได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะได้จัดทำเว็บไซต์ขึ้นมา และนอกจากนี้ยังมีอีกองค์กรหนึ่ง ที่เราควรรู้จัก ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการให้การรับรองมาตรฐานเว็บไซต์ และเป็นสิ่งหนึ่งที่เราผู้จะทำ SEO แบบคุณภาพต้องให้ความสนใจ องค์กรที่กล่าวถึงนี้ต้องยกให้ W3C ครับ

ประเภทของการทำ SEO

ประเภทของการทำ SEO

หลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างในโลกของเรามักแบ่งออกเป็น 2 ด้านเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ SEO ถึงแม้ว่าบางคนจะแบ่งประเภทของการทำ SEO ออกเป็นหลายอย่าง แต่ผมคิดว่าเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนที่สุดจึงขอแบ่งประเภทของการทำ SEO ออกเป็นสองด้านนะครับ นั่นคือ หมวกขาว หรือ Write Hat กับหมวกดำ หรือที่เรียกว่า Black Hat

SEO หมวกขาว (Write Hat SEO) เปรียบเสมือนการดำเนินการจัดทำ SEO อย่างมีจรรยาบรรณ หรือแบบขาวสะอาด เป็นไปตามกำหนดกฎเกณฑ์ของ Search Engine โดยไม่ให้มีข้อเคลือบแคลงสงสัย ตั้งแต่กระบวนการออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ (Design-Content-Technical) การบำรุงรักษาหรือปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในความเหมาะสม ไม่มีข้อความรกรุงรังในลักษณะ spam ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ html หรือไฟล์อื่นๆ ของเว็บไซต์ หรือการมีลิงก์ที่เชื่อมโยงกันไปมาเป็นระเบียบ ถูกต้องตามข้อความหรือเนื้อหาของเว็บ ไปจนถึงการได้จำนวนผู้เข้าชม (Traffic) มาจากเว็บไซต์ใต้ดินหรือเว็บไซต์จำพวกผิดกฎหมาย

SEO หมวกดำ (Black Hat SEO) เป็นสิ่งที่นอกเหนือจาก Write hat SEO ด้วยว่าสามารถปั่นอันดับ Index ใน Search Engine ขึ้นมาอยู่ในหน้าแรกๆ โดยไม่สนใจกฎเกณฑ์หรือคำแนะนำของ Search Engine แต่แน่นอนว่า Search Engine จะต้องไม่ชอบ Black Hat SEO เพียงแต่ว่าไม่อาจตรวจสอบได้เว็บไซต์ทั้งหมด และเนื่องจาก Black Hat SEO ก็คิดค้นเทคนิคและวิธีการเพื่อให้เหนือทั้ง Search Engine รวมทั้งเว็บไซต์คู่แข่งด้วย ตัวอย่างของ Black Hat SEO มีหลากหลายมาก ที่ผมจะแนะนำ มีสองอย่าง ได้แก่ Doorway Page และ Cloaking
- Doorway Page เปรียบเสมือนการสร้างประตูหน้าด่านของเว็บไซต์ขึ้นมา เพื่อหลอกให้ spiders หรือ bots ของ Search Engine หลงและรับเอาคำสำคัญหรือ Keywords ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากของเว็บเพจไป ทั้งที่ในความเป็นจริงเว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้นไม่ได้มีเนื้อหาที่กล่าวถึง Keywords เหล่านั้นเลยแม้แต่น้อยก็ได้ เพราะไม่สามารถมองเห็นในสิ่งที่ spiders หรือ bots มองเห็น และผู้ใช้ทั่วไปนั้นมักจะถูกส่งไปยังหน้าที่มีเนื้อหาปกติตามที่ผู้สร้างเว็บไซต์ต้องการ ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า Refresh Page
- Cloaking เป็นลักษณะของการทำงานของโปรแกรมการเขียนเว็บเพจ เช่น ภาษา java ที่ได้เขียนขึ้นมาประกบการทำงานของหน้าจริงของเว็บไซต์ เพื่อตรวจสอบ spiders หรือ bots ของ Search Engine เข้ามาในเว็บไซต์หรือไม่ ถ้าใช่ก็จะได้ป้อน Keywords ให้กับ bots หรือ spiders เหล่านั้นไปแล้วให้ไปในทางใดทางหนึ่ง โดยที่ไม่ได้เข้าไปในหน้าเว็บเพจที่ใช้งานจริงเลย ถ้าหากเป็นผู้ใช้ธรรมดาเข้ามา ก็จะมีคำสั่งหนึ่งส่งการทำงานไปยังหน้าเว็บไซต์ปกติต่อไป

จรรยาบรรณของการทำงานเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับความถูกต้องและความยั่งยืนฉันใด การทำ SEO ก็เป็นไปแบบนั้นครับ และหากเราเลือกวิธีการทำงาน SEO แบบหมวกขาว เว็บไซต์หรือเว็บบล็อกของเราก็อยู่ในฐานข้อมูล Search Engine ได้นาน ในขณะที่เราเลือกที่จะทำ SEO แบบหมวกดำหรือขาดจรรยาบรรณ ไม่ได้สนใจกฎเกณฑ์ข้อกำหนด จริงอยู่ว่าหากเลี่ยงจากการตรวจสอบได้ เราอาจประสบผลสำเร็จในช่วงนั้นๆ แต่เมื่อไรก็ตามที่มีการตรวจสอบพบ สิ่งที่เราคาดหวังและตั้งใจทำมานานอาจกลายเป็นความเหนื่อยเปล่าไปเสียก็ได้ ดังนั้นเราคงมีวิจารณญาณในการเลือกว่าจะจัดทำเว็บไซต์ในรูปแบบใด

SEO กับการออกแบบเว็บไซต์

SEO กับการออกแบบเว็บไซต์

สำหรับเราผู้จัดทำและออกแบบเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกนั้น ขั้นตอนหนึ่งก่อนการลงมือทำ SEO จะต้องรู้หลักของการออกแบบเว็บไซต์ที่ดีเพื่อที่จะได้เว็บไซต์หรือเว็บบล็อกที่มีคุณภาพ ทั้งยังต้องคำนึงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องอีกสองฝ่าย นั่นคือ ผู้เข้าชม กับ Search Engine และแน่นอนว่าทั้งสองฝ่ายที่ได้กล่าวถึงอาจมีความต้องการ (หรือความชื่นชอบในตัวเว็บไซต์ของเรา) ที่ต่างกัน แต่เราจำเป็นจะต้องทำการออกแบบและจัดทำเพื่อเป็นการดึงดูดหรือเอาใจทั้งสองฝ่ายอยู่ดี โดยรวมแล้ว ผมจะพยายามแสดงรายละเอียด ดังนี้ครับ

สิ่งที่ผู้ใช้หรือผู้เข้าชื่นชอบ ได้แก่ รูปร่างหน้าตาที่สวยงาม ข้อมูลที่ถูกต้อง-ครบถ้วน-สมบูรณ์ ดูมีความเป็นมืออาชีพและน่าเชื่อถือ เมนูหรือลิงก์เชื่อมโยงง่ายต่อการใช้งาน มีความสะดวกรวดเร็วในการโหลดข้อมูล เป็นต้น

สิ่งที่ Search Engine ชื่นชอบ เช่น มีโครงสร้างลิงก์เชื่อมโยงชัดเจน (สังเกตจาก sitemap) มีข้อความที่มากมายก่ายกอง (น่าจะเป็นอาหารชั้นดีของ spider แต่พยายามอย่าให้ถูกมองว่าเป็น spam) มี Code ที่ถูกต้องตามหลัก W3C มีขนาดของเว็บเพจไม่ใหญ่เกินไป มีข้อความที่เกี่ยวเนื่องกัน มีการวางและเลือกคำสำคัญให้สัมพันธ์กันในหน้าเว็บเพจ (สำคัญมาก) เป็นต้น

เมื่อเป็นดังนี้ เราผู้จัดทำและออกแบบเว็บไซต์หรือเว็บต้อง จำเป็นต้องคำนึงถึงทั้งสองฝ่ายที่ได้กล่าวไปแล้วนี้ เพื่อ Search Engine จะได้เก็บเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกของเราวางไว้ในที่ๆ เราปรารถนา โดยไม่ได้ถอดข้อมูลเว็บไซต์ของเราออกจากฐานข้อมูลของ Search Engine แทน (de-index) ขณะเดียวกันก็สามารถเอื้อให้ผู้สืบค้นข้อมูลผ่านมาพบเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกของเราแล้วคลิกเข้าชมรายละเอียดข้างในอย่างไม่รอช้า

SEO กับ PPC

SEO กับ PPC

จากหัวข้อ SEO กับการสร้างรายได้ออนไลน์ จะทำให้เห็นแล้วว่า SEO กับ PPC มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ SEO สามารถที่จะกระทำได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายก็ได้ ขณะเดียวกัน PPC ต้องจ่ายทุกครั้งเมื่อมีผู้ผ่านมาคลิก (สมชื่อ Pay Per Click) แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตลอดจนความคุ้มค่ากับสิ่งที่เราจะทำ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราตั้งใจทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ของเราเว็บหนึ่งด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆ จนสามารถนำพาให้เว็บของเราไปปรากฏบนหน้าแรกๆ ของ Search Engine ต่างๆ นั่นก็หมายถึงว่า เราไม่จำเป็นต้องไปเสียค่าใช้จ่ายอีกในการโปรโมทเว็บไซต์อีกแต่อย่างใด โดยเฉพาะการเรียกใช้บริการกับธุรกิจ PPC อันได้แก่ Google AdWords, Yahoo! Marketing Solutions, Microsoft Adcenter, Bidvertiser, Adbrite, ShoppingAds, Miva เป็นต้น ซึ่งเทคนิคการตลาดเหล่านี้สามารถโปรโมทเว็บไซต์ให้ใครต่อใครในโลกเห็นได้ภายในไม่กี่นาที

SEO กับค่าใช้จ่าย

SEO กับค่าใช้จ่าย
จะเห็นได้ว่าการทำ SEO นั้นอย่างถูกวิธี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น แทบไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยก็ได้ นอกเสียจากว่าเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกของเราเป็นที่สนใจของคนโดยมากและมีการแข่งขันกันที่สูงยิ่ง จึงจำเป็นจะต้องใช้วิธีการหรือเพิ่มคุณภาพของการจัดทำ SEO ด้วยการเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าไป แต่จากประสบการณ์ของผมนั้น ผมไม่เคยเสียค่าใช้จ่ายจากการทำ SEO เลย แม้แต่บาทเดียว ไม่ว่าเว็บไซต์ที่ทำนั้นจะมีคู่แข่งมากหรือน้อยก็ตาม ก็สามารถนำพาเว็บไซต์เข้าไปอยู่ในหน้าแรกๆ ของ Search Engine หลักๆ ได้

แต่อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่เป็นไปได้กับการทำ SEO เพื่อให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นนั้น มีวิธีที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นไปตั้งแต่ การซื้อหา keywords การซื้อชื่อโดเมนที่ดี การ submit ใน directory ที่มีความนิยม เช่น Yahoo! Directory และที่อื่นๆ เป็นต้น การซื้อ traffic การแลกลิงก์ การฝากลิงก์หรือติดแบนเนอร์ หรือแม้กระทั่งการลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ข้างนอกอินเทอร์เน็ตไปเลย (ในส่วนนี้ไม่นับรวมกับการจ้างบริษัทด้านการจัดทำ SEO โดยตรงนะครับ ซึ่งจะพบเห็นอย่างมากมายเหลือเกินด้วย)

SEO กับการสร้างรายได้ออนไลน์

SEO กับการสร้างรายได้ออนไลน์

เป็นไปได้น้อยมากว่าเราจะสร้างเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกขึ้นมาโดยที่เราไม่ต้องการโปรโมตเพื่อให้คนได้รู้จัก และเมื่อเว็บเราเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คงไม่มีใครปฏิเสธนะครับว่าเว็บไซต์ของเราสามารถสร้างรายได้ให้กับเราได้จริง แต่ก็ต้องยอมรับกับความจริงข้อหนึ่งว่า ยังมีเจ้าของเว็บไซต์และเว็บบล็อกจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกธรรมดาๆ สามารถหาเงินหรือสร้างรายได้ให้กับเราได้

มีเว็บไซต์จำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางในการดำเนินการทางด้านธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ และมีอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่จัดทำขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์บางอย่างที่มิใช่การสร้างรายได้ทางอินเทอร์เน็ต สำหรับคนที่ต้องการพัฒนาตัวเองทั้งทางด้านความรู้และรายได้พิเศษไปด้วยนั้น การใช้เทคนิคและความรู้ทางด้าน SEO จะมีความเหมาะสมและคุ้มค่าอย่างยิ่ง

เนื่องจากการแข่งขันอย่างเข้มข้นในเว็บไซต์ประเภท Search Engine จะทำให้เราเห็นได้ชัดที่สุดในการดำเนินการจัดทำและโปรโมทเว็บไซต์ในลักษณะของ SEO เพื่อธุรกิจของเว็บไซต์เองหรือไม่ก็เพื่อรายได้ที่อาจเกิดขึ้นกับมันโดยเฉพาะเว็บไซต์มีสามารถสร้างรายได้เสริม (หลายเว็บไซต์ทำเว็บรายได้หลัก) จากธุรกิจ PPC (Pay Per Click) และ Affiliate ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก

ทำไมต้อง SEO กับคนทำเว็บไซต์

ทำไมต้อง SEO กับคนทำเว็บไซต์

การตอบคำถามนี้คงพอๆ กับจะต้องตอบคำถามว่า ทำไม โดยเฉพาะกับคนที่มีเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกอยู่ในมืออยู่แล้ว รวมไปถึงคนที่กำลังคิดอยากจะสร้างเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กันไป

การที่จะทำอย่างไรเพื่อให้เว็บไซต์หรือเว็บบล็อกของเราได้เข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลของ Search Engine และความคาดหวังต่อจากนั้นก็คือ จะทำอย่างไรให้เว็บเพจของเราปรากฏอยู่ในหน้าแรกๆ ของผลการแสดงรายการสืบค้นข้อมูลจากผู้สนใจที่ได้ทำการสืบค้นจากคำสำคัญต่างๆ ยิ่งทุกวันนี้นับวันแต่จะมีเว็บไซต์เกิดขึ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านใดก็ตามถือว่าเรามีคู่แข่งจำนวนไม่น้อยเลย

ความหมายของ SEO

ความหมายของ SEO
SEO (Search Engine Optimization) หมายถึง กระบวนการในการปรับแต่งเว็บไซต์หรือเว็บเพจให้ถูกค้นหาจากเว็บ Search Engine ได้ดียิ่งขึ้นทั้งในด้านจำนวนหน้าเว็บเพจและคุณภาพของข้อมูลบนเว็บเพจ เพื่อยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์หรือเว็บเพจที่มากขึ้น ด้วยคำค้นหา หรือ Keywords ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์หรือเว็บเพจ

โดยทั่วไปแล้วเว็บเพจที่ปรากฏอยู่หน้าแรกและอันดับแรกๆ ของการค้นหานั้น แสดงถึงว่าเว็บเพจนั้นมีอันดับหรือที่เรียกว่า Rank นั้นดี และนั่นก็หมายถึงว่า เว็บเพจหรือเว็บไซต์นั้นๆ มีการทำ SEO ที่ดีครับ

SEO คืออะไรกัน

SEO คืออะไรกัน

SEO ที่ผมทราบมันย่อมาจาก Search Engine Optimization ..ถ้าให้แปลตามความรู้สึกก็คือ การใช้ การปรับเปลี่ยน การทำอย่างไรก็ได้ให้มัันเข้ากับ Search Engine ที่สุดฉะนั้นเป้าหมายของการทำ SEO นี้ถ้าหากแปลกันแบบกำปั้นชุบดินอย่างย่อข้างบนแล้วก็คือการที่เราจะทำอย่างไรก็ได้ให้เว็บไซต์ของเรา .. อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมกับความต้องการของเราที่สุด

แน่นอนครับ .. เบซิคของมันก็ไม่ต้องไปคิดอะไรมากมาย ..กล่าวคือ การที่เราคอยดูแลให้เว็บไซต์ของเราอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดของคีย์เวิร์คนั้นๆนั่นแหละคือการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ของเรานั่นเอง ..แล้ว .. สิ่งเหล่านี้จะทำอย่างไรตรงนี้ เราต้องมาวิเคราะห์กันที่หลายมุม

ในปัจจุบันการจัดเรียงหรือการจัดอันดับ ( SERP ) ของทาง Search Engine ชื่อดังอย่าง Googleไม่ทราบเปิดเผยใน Algorithm หรือวิธีการคิด ทั้งหมดได้แ่ต่เราสามารถเรียนรู้การจัดอันดับของสิ่งเหล่านี้ ได้โดย “ประสบการณ์” …และ นอกจากประสบการณ์ก็คือการเรียนรู้จากโลกไซเบอร์ใบนี้ครับ ..

โดยสรุปแล้ว พื้นฐานการทำ SEO .. ที่เราควรกระทำอย่างยิ่ง มีดังต่อไปนี้ครับ ..
1. Back Links - ตรงนี้น่าจะเป็นคำแนะนำแรกสุดของผู้ที่เรียนรู้และผู้ที่ทำ SEO ทราบกันดี การสร้างลิ้งกลับมาให้เว็บไซต์เรามากเท่าไหร่ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีอันดับต้นๆที่เราต้องไม่ลืมเลย เช่นเดียวกัน .. การสร้าง Back Links ที่มือเซียนต่างๆพากันแนะนำและเป็นที่โปรดปรานของ กูเกิ้ล คงไม่พ้นการสร้าง Back Links ที่มัน Class C IP ที่ต่างกัน .. ตรงนี้คือ “ประเด็น” หนึ่งที่ผู้อ่านควรจะนำไปทดลองใช้เพื่อมองหาข้อแตกต่างของการใช้ iP ที่ไม่ต่าง Class กันจำนวนมาก และ การใช้ Class C IP ที่ต่างกันจำนวนมากๆ

2. การทำ On Page Factor ที่ดี - ตรงนี้พูดตรงๆว่า ผมเพิ่งนึกศัพท์คำนี้ได้เมื่อสักครู่นี้เอง .. โดยพื้นฐานแล้ว การออกแบบหน้าเว็บให้ดูดี ไม่อาจจะช่วยให้เว็บเราอยู่อันดับต้นๆได้เลยในปัจจุบัน เนื่องจาก “ความสวย” ที่จำเป็นต้องไม่ลืมแล้ว .. Search Engine ยังต้องการเว็บที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว .. การวางโครงสร้างเว็บที่ได้มาตรฐาน W3C .. เป็นต้น

3. การโปรโมทเว็บ - ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่า มันถือว่าเป็นการทำ SEO หรือเปล่า แต่ในนิยามของเทพที่เพิ่งเรียนรู้ SEO อย่างจริงจัง มองว่ามันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างสิ่งนี้ขึ้นมา .. แท้จริงแล้ว การโปรโมทเว็บ อาจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำ SEO ในข้อแรกก็เป็นไปได้ เพียงแต่ว่า การโปรโมทเว็บที่ได้ผลอย่างแท้จริง หลังจากการทำ SEO นั่นก็คือ การที่สามารถสร้าง ทราฟฟิก หรือผู้เข้าชม ได้จำนวนมากผ่านทาง Search Engine ..

ตรงนี้อยากจะฝากถึงบริษัท ห้างร้าน ร้านค้า หรือผู้ที่สนใจจะจ้างให้ทำ SEO แก่ผู้รับจ้าง .. อยากจะให้เข้าใจว่า ตัวเลขผู้เข้าชมมากหรือน้อย .. หลังจากการทำ SEO .. ผมคิดว่า ควรจะให้ความสำคัญกับตัวเลขผู้เข้าผ่าน Search Engine มากกว่าการมองในภาพรวมของตัวเลขผู้เข้าทั้งหมดในแต่ละวัน

ตรงนี้ผมมาย้ำอีกรอบ .. ผมไม่แน่ใจว่า “นิยาม” ของผมมันเพี้ยนไปจากท่านอื่นๆหรือไม่แต่ ผมก็มาตอบในมุมของผม คือ .. นอกจากการที่เราสามารถทำ keyword นั้นอยู่ในอันดับต้นๆได้แล้ว ..การ monitor จำนวนผู้เข้า ( visitor ) .. ก็ควรจะวัดตัวเลขที่อ้างอิงมาจาก search engine เป็นสำคัญ ไม่ใช่วัดว่า ตัวเลขรวมมันไม่เพิ่มขึ้น ..

เลือกธีมดี ๆ ต้องมี Error น้อย ได้มาตราฐาน W3C

เลือกธีมดี ๆ ต้องมี Error น้อย ได้มาตราฐาน W3Cวันนี้มีเคล็ดไม่ลับมาเล่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับธีม (Theme) ของ Wordpress

คุณรู้หรือไม่ว่า ธีม ก็มีส่วนสำคัญ(มาก)ในการทำให้บล็อกของคุณ index เร็วช้า ถ้าธีมดีก็มีชัยชนะ bot รัก bot หลง โพสอะไรลงไปก็ index หมด ยิ่งถ้าเป็นบทความใหม่สดด้วยแล้ว ไม่ต้องพูดถึง index กันวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมงเลยทีเดียว ต่อไปจะใช้ ธีมอะไรก็เลือกกันให้ดี เลือกธีมที่เป็นมิตรกับ bot แล้วจะรู้ได้อย่างไร? ว่าธีมไหนดี ไม่ดี

อันดับแรกก็เลือกเอาธีมสวย ๆ ที่ชอบ ๆ หลังจากนั้น ให้เข้าไปที่ validator.w3.org/
กรอกยูอาร์แอลบล็อกของคุณลงไปซะ

ธีม ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี จะมี ข้อผิดพลาด ไม่เยอะ…ถ้าเจอ Error เป็นร้อย ก็อย่าใช้เลยครับธีมนั้น แต่หากประสงค์จะใช้จริง ๆ ก็ให้ทำการแก้ไขข้อผิดพลาดตามคำแนะนำ (สำหรับมือใหม่ เปลี่ยนธีม ใหม่ ง่ายกว่าครับ)

การตรวจสอบนี้ ไม่ใช่การตรวจสอบมาตราฐานของธีมนะครับ แต่เป็นการตรวจสอบการเขียน code ให้ถูกต้องตามมาตราฐาน W3C ครับ จริง ๆ แล้ว Wordpress เขียน Code ถูกต้องตามมาตราฐาน W3C อยู่แล้วครับ แต่ธีมบางตัว ออกแบบมาไม่ได้มาตราฐานคับ ผิดบ้างอะไรบ้าง

google ยึดถือมาตราฐาน W3C อย่างเคร่งครัดนะครับ ถ้าคุณปรับแต่งบล็อก Wordpress ของคุณให้ถูกต้องตาม มาตราฐาน W3C แล้วนั้น กูเกิลจะหลงรักครับ เลือกธีมดี ๆ ต้องมี Error น้อย ได้มาตราฐาน W3C นะครับ อย่าลืม

SEO (Search Engine Optimization)

SEO (Search Engine Optimization)

SEO (Search Engine Optimization)
SEO คืออะไร พูดง่ายๆ ก็คือการทำให้เว็บไซต์ ของเราไปติดอันดับการค้นหาต้นๆ ของ Google เช่นเราทำเว็บเกี่ยวกับโครงการขายบ้านจัดสรร ดังนั้นหากคนเข้ามา search ใน google คำว่า บ้าน หรือ ซื้อบ้าน ขายบ้าน เว็บของเราก็ควรจะติดอันดับต้นๆใช่ไหมครับ คนถึงจะมีโอกาสคลิกเข้ามาอ่านเว็บของเรา ทำให้บ้านจัดสรรของเรามีโอกาสได้รับการพิจารณาจากลูกค้าได้ง่ายขึ้น มีกฎอยู่มากมายจริงๆ ในการทำ SEO แต่ขอยกตัวอย่างดังนี้

1. ทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นมิตรกับ Google Bot อ่านรายละเอียดตามลิงค์ด้านล่าง
http://www.google.com/webmasters/guidelines.html

2. Text linksพยายามทำหน้าเว็ปเพจทุกหน้าให้มี Text links เชื่อมถึงกัน การ Link ด้วย Flash DHTML หรือ Javascript จะทำให้ Googlebot ไม่เข้าใจเพราะภาษาหลักของ googlebot คือ Text นั่นเอง ดังนั้นควรใช้ CSS เข้ามาเพิ่มลูกเล่นให้กับเมนู หรือปุ่มลิงค์ของเรา เพื่อทำให้ปุ่มของเราเป็นลิงค์Text links อาจจะเป็นกุญแจสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้เว็ปไซท์ของเราไปปรากฎอยู่บน Google ก็เป็นได้Googlebot แท้จริงแล้วก็คือซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เหมือน Browser ที่ทำงานคล้ายกับ Lynx (Browser แบบ Text) ถ้าใครจะลอง Download Lynx มาใช้ดูก็ได้นะครับ ตามลิงค์นี้
http://www.vordweb.co.uk/standards/download_lynx.htm ถ้าเราลอง Browse เว็ปของเราผผ่าน Lynx สิ่งที่เราเห็นก็จะคล้ายๆกับสิ่งที่ Googlebot เห็นนั่นเอง คือมีแต่ตัวหนังสือทั้งสิ้น ไม่มีรูปภาพเลย เราก็จะเห็นว่าข้อมูล

ใหนที่ Googlebot อ่านได้หรืออ่านไม่ได้ Link ใหนบ้างที่ Googlebot สามารถจะไปต่อได้ ฟังดูอาจจะไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่ใช้ Flash ทำเว็บไซต์หรือรูปภาพที่เป็นเมนูแต่มีทางแก้ครับ โดยการทำ Site Map(ทางแก้ก็คือทำ Site Map อ่านในหัวข้อ 13)

3. หลีกเลี่ยงการใช้ Frame
พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เฟรมโดยสิ้นเชิง ถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆ อย่าใช้ในหน้าแรกหรือ Homepage นะครับ เพราะ Googlebot ไม่สามารถจะอ่าน Frame ได้ ก็พูดง่ายๆ มาตรฐาน W3C ในการเขียนเว็บไซต์นั้นการใช้ Frame แทบจะไม่อยู่ในมาตรฐานของ W3C ครับ ใครอยากรู้เรื่อง W3C ให้อ่านในหัวข้อ W3C ในหน้าเว็บไซต์ได้ครับ

4. อย่าทำ Text links ให้เกิน 100
Links ต่อ 1 เว็ปเพจถ้ามี links มากกว่า 100 ให้แบ่งออกเป็นหลายๆหน้า และในแต่ละหน้าไม่ควรมีขนาดไฟล์ใหญ่เกินไป

5. เขียน Title tag ในทุกๆหน้าให้มีความหมายชัดเจน
ใส่ Keywords ลงบน Title Tag แต่อย่าใส่ Keywords ซ้ำๆนะครับ และ Keywords ใน Title Tag ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อหาภายในเว็ปเพจนั้นด้วย ผู้ใช้ Google สามารถใช้คำในการค้นหา “allintitle” ตามด้วยคำที่ต้องการค้นหา ซึ่งจะเป็นการค้นหาเฉพาะข้อความที่แสดงบน Title เท่านั้น ให้ใส่ Title Tag ตามความสำคัญจากซ้ายไปขวานะครับ คำไหนสำคัญกว่าให้ใส่ก่อน

6. อย่าใช้รูปภาพแสดงความสำคัญ
Google says: “Try to use text instead of images to display important names, content, or links. The Google crawler doesn’t recognize text contained in images.” เช่น รูปภาพ Jpeg ไฟล์ ที่ทำใน Photoshop พิมพ์คำว่า Free , Googlebot ไม่สามารถอ่านคำว่า Free นั้นได้นะครับ ดังนั้นให้ใส่ ALT กำกับรูปอ่านต่อข้อ 7 ครับ

7. อธิบายรูปภาพด้วย “ALT”
alt=”" ใช้แสดงคำอธิบายรูป4าพ และควรใช้คำที่สื่อความหมายนะครับ ไม่ควรใช้คำว่า image หรือ pic เพราะ Googlebot จะคิดว่ามันไม่มีความหมายอะไร
สมมุติว่าเรามี Image Links ที่จะลิ้งไปยังรูปภาพงานแสดงสินค้า….. ถ้าเราใช้ alt=”รูปภาพ” กับ alt=”รูปภาพงานแสดงสินค้า……” อย่างหลังจะดีกว่านะครับ

Googlebot ก็จะเข้าใจได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม Googlebot ก็ยังให้ความสำคัญกับ Text links มากกว่า Alt นะครับ

8. ใช้คำอธิบาย Text Links ที่มีความหมายชัดเจน
เช่น “link to JDPromos samples of branded coffee mugs” ไม่ใช่ “coffee mugs” หรือ “click here for pictures” หรือ “read more” หรือ “go here” หรือ

“download it”, “click here”, “don’t click here”, ถ้าจะใช้คำเหล่านี้ ใช้ Image Links ซะยังจะดีกว่านะครับอีกเรื่องคือ อย่าใช้คำที่มีคนนิยม Search เช่น เรื่องเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ (ผมไม่กล้าพิมพ์ตรงๆนะครับ กลับ Googlebot จะไม่ชอบ)หรือพวกยา ไวอะกร้า คำพวกนี้ Googlebot ไม่ชอบนะครับ ที่สำคัญ เว็ปของเราอาจจะโดนแบนจาก Google ก็ได้นะ

9. ใช้ “description” Tag ในทุกๆหน้า
Descripting Tag ใช้สรุปเนื้อหาภายในหน้านั้นๆ เป็นประโยคสั้นๆ และอย่าพิมพ์ Keywords อย่างเดียวติดๆกันนะครับ

10. ใช้ query strings ให้สั้นลง

11. อย่าใช้ “&id=” parameter
ให้เลี่ยงใช้คำอื่นแทน &id Google says: “Don’t use “&id=” as a parameter in your URLs, as we don’t include these pages in our index.”คือพูดง่ายๆ ก็คือให้ทำ mod rewrite แทนการใช้ &id สังเกตุจากเว็บ www.iii-share.net ก็ได้นะครับ ว่าใช้ลิงค์เต็มๆแทนการใช้ &id

12. ใช้ robots.txt
robots.txt ใช้เพื่อบบอก Googlebot ว่าส่วนใหนของเว็ปไซท์ที่ไม่ต้องการให้ Googlebot เข้ามาวุ่นวาย
Google says: “Make use of the robots.txt file on your web server. This file tells crawlers which directories can or cannot be crawled.”

13. ทำ Site map
อย่าให้มีลิ้งค์มากกว่า 100 นะครับ หรือไม่ก็แบ่งเป็นหลายๆหน้า

14. นำ URL เว็บของเรามา Submite Site map กับ Google
https://www.google.com/webmasters/sitemaps

15. เขียนเว็บไซต์ของเราให้ถูกต้องตามมาตรฐานของ W3C
http://www.iii-share.net/category/iii-share-recommend/w3c/

มาตรฐาน W3C คืออะไร

W3C คืออะไรW3C หรือ World Wide Web Consortium เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเว็บ นำโดยนาย ทิม เบิร์นเนอร์ ลี ก่อตั้งในปี 1994 และมีองค์กรสมาชิกมากกว่า450 องค์กร ซึ่งรวมถึงองค์กรอย่าง Microsoft, Sun Microsystems และอื่น ๆ อีกมากมาย

องค์กรนี้ประกอบด้วยสถาบัน 3 สถาบันคือ MIT ในสหรัฐอเมริกา INRIA ในยุโรป และ Keio University ในญี่ปุ่นมาตรฐานของ W3C มีอะไรบ้าง
1. HTML 4.0 – Hyper Text Markup Language
2. XML 1.0 – Extensible Markup Language
3. XHTML 1.0, 1.1 และ Modularization
4. CSS – Cascading Style Sheets
5. DOM 1 – Document Object Model Level 1

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำตามมาตรฐานเว็บ
1. ประโยชน์ต่อซอฟแวร์หรือเครื่องจักร
• Search engine สามารถค้นหาและทำดรรชนีข้อมูลในเว็บได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• เนื่องจากว่ามาตรฐานเป็นสิ่งที่บราวเซอร์ทุกชนิดเข้าใจ จึงทำให้สามารถเข้าใจโครงสร้างเอกสารเว็บได้ แม้ว่าจะไม่เข้าใจเทคโนโลยีมาตรฐานใหม่ ๆ แต่ก็ยังสามารถแสดงผลได้
• นักพัฒนาที่ใช้มาตรฐานจะสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร (validate) ด้วย เครื่องมือที่มีมากมายในอินเตอร์เน็ทได้ ซึ่งช่วยให้การค้นหาข้อผิดพลาดในเว็บของเราได้ ง่ายขึ้น
• เอกสารที่ได้มาตรฐานสามารถแปลงไปเป็นเอกสารแบบอื่นได้ง่าย ทำให้เอกสารนั้น ๆ ใช้งานได้หลายประโยชน์ขึ้น2. ประโยชน์ต่อผู้ใช้
• ผู้ที่ใช้บราวเซอร์อื่น ๆ ที่แตกต่างไปจากบราวเซอร์ทั่ว ๆ ไปที่เราคุ้นเคยสามารถใช้งาน เว็บของเราได้ เช่น คนตาบอดที่ใช้บราวเซอร์เบรลล์หรือ Braille display คนที่ใช้อุปกรณ์ พกพาต่าง ๆ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่อาจมีในอนาคต ฯลฯ
• สำหรับการทำธุรกิจแล้ว การปฏิเสธผู้ใช้บางกลุ่มสามารถสร้างความแตกต่างในเรื่อง ของรายได้อย่างคาดไม่ถึง3. ความมีเสถียรภาพ
• ข้อมูลหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ทำตามมาตรฐานจะยังสามารถใช้ได้แม้ว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะเข้ามาแทน และสามารถแสดงผลลัพธ์ผ่านทางบราวเซอร์ในลักษณะที่ผู้ใช้รับได้ (ไม่ น่าเกลียดจนเกินไป) เรียกว่าเป็นการตกยุคอย่างสวยงาม (degrade gracefully)
• เนื่องจากว่า เว็บไซต์หนึ่ง ๆ อาจอยู่นานและมีผู้พัฒนาหลายคน ผู้ที่เข้ามาสานงานต่อ จะเข้าใจงานที่มีอยู่ได้ง่ายขึ้นหากโค้ดของเราได้มาตรฐาน

รวม Clip VDO ธุรกิจปูแดงไคโตซาน

แนะนำบริษัท
แนะนำผลิตภัณฑ์
คุณสมบัติเด่นปูแดงไคโตซานพืช
คุณสมบัติเด่นปูแดงไคโตซานสัตว์
แผนการตลาดและรายได้
วิสัยทัศน์ผู้บริหารบริษัท
คำยืนยันจากผู้ผลิตดร.วิชาญ
การพูดให้ทะลุใจ-จอมพล
เพลงบริษัทปูแดง
สปอร์ตวิทยุปูแดง