วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมของบริษัทและสมาชิกปูแดงไคโตซาน

กิจกรรมของบริษัทและสมาชิกปูแดงไคโตซาน
http://www.poodang.com/docs/Activity.pdf

แผนการตลาดปูแดงไคโตซาน

แผนการตลาดปูแดงไคโตซาน
http://www.poodang.com/docs/Pand2Page.pdf

กฏระเบียบของบริษัทปูแดงไคโตซาน

กฏระเบียบของบริษัทปูแดงไคโตซาน
http://www.poodang.com/docs/Laws.pdf

Catalog สินค้าปูแดงไคโตซาน

Catalog สินค้าปูแดงไคโตซาน
http://www.poodang.com/docs/company.pdf

วิธีใช้ปูแดงไคโตซานกับพืชเศรษฐกิจ

วิธีใช้ปูแดงไคโตซานกับพืชเศรษฐกิจ
http://www.poodang.com/docs/HowUsedMore.pdf

ประสบการณ์จากผู้ใช้ปูแดงไคโตซาน

ประสบการณ์จากผู้ใช้ปูแดงไคโตซาน
http://www.poodang.com/docs/examuser.pdf

วารสารปูแดงฉบับที่1ประจำไตรมาสแรก2552

คลิกที่นี่ www.poodang.com/docs/varasanq1-52.pdf

ผู้ประสบความสำเร็จปูแดงไคโตซาน

ผู้ประสบความสำเร็จปูแดงไคโตซาน
http://www.poodang.com/docs/examsuccess.pdf

บริษัทและผู้บริหารปูแดงไคโตซาน

บริษัทและผู้บริหารปูแดงไคโตซาน
http://www.poodang.com/docs/company.pdf

โรคหนอนทราย (Cockchafers) ของยางพารา

โรคหนอนทราย (Cockchafers)
หนอนทราย เป็นตัวหนอนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นศัตรูกัดกินและทำลายรากยาง ทำให้ต้นยางตายเป็นหย่อมๆ พบระบาดที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ
.. 2541 เป็นตัวหนอนของแมลงนูหลวงซึ่งเป็นด้วงปีกแข็ง

ลักษณะและวงจรชีวิต
ตัวเมียวางไข่ในสวนยาง อาจเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน และฟักเป็นตัวหนอนในอีก
2-3สัปดาห์ต่อมา ตัวหนอนมีสีขาว รูปร่างโค้งงอเหมือนตัว C ลำตัวยาว 3-5 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในดิน กินอินทรียวัตถุและรากพืเป็นอาหาร เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจึงขุดดินเป็นโพรงลึกลงไป และสร้างผนังหนาห่อหุ้มตัวเพื่อเข้าดักแด้ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดใหญ่ ตัวอ้วน ป้อมและสั้น ลำตัวยาว 3-5เซนติเมตร กลางวันหลบซ่อนในดิน ออกบินหากินช่วงพลบค่ำ
การทำลาย
กัดกินรากยางในระยะต้นเล็กอายุ
6-12 เดือน ทำให้ต้นยางมีอาการใบเหลืองและเหี่ยวแห้งตายมักพบในสวนยางปลูกแทน ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ที่รากของตอยางเก่า และออกมากัดกินรากยางอ่อนและพืชร่วม พืชแซมชนิดอื่นๆที่อยู่ในแปลงยาง เช่น สับปะรด หวาย ลองกอง ทุเรียน มังคุด เนียงนกมะฮอกกานี รวมทั้งหญ้าคา ยังไม่พบความเสียหายในต้นยางที่มีอายุมาก แต่พบว่าตอยางเก่าที่อยู่ในสวนยางจะเป็นแหล่งอาศัย และเป็นแหล่งอาหารของแมลงชนิดนี้
การระบาด
ระบาดในช่วงเดือนตุลาคม
-ธันวาคม พบระบาดในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายในเขตจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช และสงขลา
การป้องกันกำจัด
1. ดักจับตัวเต็มวัยช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ด้วยกับดักแสงไฟ หรือตาข่ายในช่วงพลบค่ำ
จะช่วยลดปริมาณแมลงได้ดี
2. ปลูกพืชล่อ เช่น ตะไคร้เพื่อล่อตัวหนอนให้ออกมาและจับทำลาย

3. ใช้สารเคมีราดรอบโคนต้นยางและตอยางเก่าแล้วกลบดิน

โรคเปลือกแห้ง ของยาพารา

โรคเปลือกแห้ง

โรคเปลือกแห้งโรคเปลือกแห้ง
อาการเปลือกแห้งของต้นยาง เป็นลักษณะ ความผิดปกติของการไหลของน้ำยาง เกิดขึ้นบริเวณ
หน้ากรีดทำให้ผลผลิตลดลง การเกิดอาการเปลือกแห้งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค จึงไม่ถ่ายทอดจากต้นสู่ต้นแต่เกิดจากความผิดปกติทางสรีรวิทยา มีสาเหตุหลักมาจาก พันธุ์ยาง ระบบกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางสภาพแวดล้อม รวมทั้งดินที่ปลูก ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน
การเกิดอาการเปลือกแห้ง
1.
อาการชั่วคราว ต้นยางให้ผลผลิตน้ำยางลดลง และเกิดกับต้นยางจำนวนมากในแปลงเดียวกัน อาจเกิดจากการกรีดถี่ การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางไม่เหมาะสม หรือสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งเกินไป เมื่อพักกรีดระยะหนึ่ง บำรุงรักษาต้นยาง และมีฝนตามฤดูกาล อาการผิดปกตินี้ก็จะหายไป

2. อาการถาวร ต้นยางให้ผลผลิตน้ำยางน้อยมาก หรือไม่ให้ผลผลิตเลย พบบางต้นเท่านั้นอาจเป็นต้นเดียวหรือหลายต้นติดต่อกัน พบได้ 2 ลักษณะ คือ
เกิดบริเวณใต้รอยกรีด ลุกลามลงไปถึงบริเวณเท้าช้าง พบในเขตปลูกยางเดิม

เกิดจากบริเวณเท้าช้างแล้วลุกลามขึ้นไปด้านบน พบในเขตแห้งแล้ง
สาเหตุ

1. สภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพที่ตั้งของสวนยาง สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน รวมถึง
โครงสร้างของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
2. พันธุ์ยาง พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูงมีโอกาสที่จะแสดงอาการเปลือกแห้งสูง
3.ระบบกรีดการกรีดถี่จะมีโอกาสทำให้ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งสูงกว่าระบบกรีดที่แนะนำ
4. การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ทำให้น้ำยางไหลได้นานขึ้น ความถี่ของการทาและความเข้มข้นของสารเคมีเร่งน้ำยาง มีผลทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งเร็วและรุนแรงขึ้น
5. สาเหตุที่ไม่แน่ชัด อาจพบในต้นยางที่ยังไม่เปิดกรีด หรือต้นยางสมบูรณ์และปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม หรือต้นยางที่กรีดด้วยระบบปกติ อาจพบว่ามีอาการเปลือกแห้ง
ลักษณะอาการ
1. ผลผลิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ระยะแรกผลผลิตต่อต้นเพิ่มสูงขึ้นมาก น้ำยางหยุดไหลช้า
ความเข้มข้นลดลง หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว มีน้ำยางบนรอยกรีดแห้งเป็นช่วงๆและหยุดไหลในที่สุด
2. ต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้ง จะมีขนาดลำต้นใหญ่กว่าต้นปกติมาก เนื่องจากต้นยางไม่มี
การสร้างน้ำยาง สารอาหารที่ต้นยางสร้างขึ้นจะถูกนำไปใช้ในการเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว
3. เปลือกด้านนอกเป็นปุ่มปมขนาด เล็ก-ใหญ่กระจายบริเวณลำต้น เป็นเปลือกงอกใหม่ หลังจาก
พักกรีดนาน เนื่องจากต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้ง
4. เปลือกแตกและล่อน พบกับต้นยางที่พักกรีดนาน เปลือกงอกใหม่จะดันเปลือกเก่า ซึ่งไม่มีน้ำยางออกทางด้านนอก ทำให้เปลือกแตกและล่อนเป็นแผ่น เปลือกงอกใหม่แม้จะมีน้ำยางไหลบ้าง แต่เป็นเพียงระยะเวลาสั้น
5. ลำต้นบิดเบี้ยว เห็นได้จากส่วนเปลือกลำต้นบิดเบี้ยวไปจากปกติมากหลังจากพักกรีดระยะเวลาหนึ่งแล้ว
6. รอยแผลบนรอยกรีดลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล เมื่อขูดเปลือกชั้นนอกออก จะเห็นรอยแผลสีน้ำตาลกระจายลงไปถึงรอยเท้าช้าง ขนาดและจำนวนของแผลขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
7. อาการผิดปกติระดับเซลล์ ต้องตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยเกิดเซลล์อุดตันภายในท่อ
น้ำยาง
การป้องกันรักษา
1. เมื่อสังเกตพบความผิดปกติในการให้น้ำยาง เช่น น้ำยางหยุดไหลเป็นระยะบนหน้ากรีด
ควรหยุดกรีดสักระยะหนึ่ง หรือปรับระบบกรีดใหม่ เพื่อให้ต้นยางมีระยะเวลาเพียงพอสำหรับการสร้างน้ำยางทดแทน
2. ดินปลูกยางที่มีอินทรียวัตถุต่ำ ควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วและ / หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลสัตว์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน
3. ไม่ควรเปิดกรีดต้นยางที่มีขนาดเล็ก หรือใช้ระบบกรีดถี่กับสวนยางที่อยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนจำกัด และควรหยุดกรีดยางในระยะที่ต้นยางมีการผลิใบใหม่
4. กรณีที่มีการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ต้นยางควรมีความสมบูรณ์ เจริญเติบโตดี ต้นโต เปลือกหนาไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับพันธุ์ยางที่มีการตอบสนองต่อสารเคมีเร่งน้ำยางน้อย ได้แก่ พันธุ์ BPM 24 PB 235 PB 255 PB 260 สถาบันวิจัยยาง 250 และสถาบันวิจัยยาง 251 นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในช่วงแล้ง ช่วงต้นยางผลัดใบและผลิใบใหม่ และช่วงอากาศหนาวซึ่งน้ำยางไหลนานกว่าปกติ

ปัญหานาข้าวเป็นดินทราย

หากท่านเกษตรกรที่ประสบปัญหานาข้าวเป็นดินทราย เวลาที่จะไถหรือลงปักดำไม่ลงเพราะดินแข็ง
วิธีการแก้ปัญหาทำได้โดยให้ท่านปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วก็ไถ