วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Stem Cell ( เซลล์ต้นกำเนิดจากพืช )กุญแจสู่ผิวที่อ่อนเยาว์

กุญแจสู่ผิวที่อ่อนเยาว์

Plant Stem Cell ( เซลล์ต้นกำเนิดจากพืช ) หรือ Plant Placenta ( รกพืช )

ปัจจุบันงานวิจัย ได้ก้าวกระโดดจากรกแกะ รกคนไปยังรกพืชกันแล้ว เนื่องจากสารสกัดจากรกคน มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ อีกทั้งมีปัญหาทางด้านจริยธรรม จึงเป็นที่ห้ามใช้จากกองเครื่องสำอางค์ในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย
ส่วนรกแกะ ยังคงอนุมัติให้ใช้ได้ เพราะการควบคุมคุณภาพจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ยังปลอดภัย กระนั้นก็ดีปัจจุบันมีการเกรงว่า ฮอร์โมน Estrogen ที่ติดมาจากรกสัตว์ อาจกระตุ้นให้เกิดฝ้า เมื่อใช้ต่อเนื่อง การหันเหมายังรกพืช จึงมากขึ้น งานวิจัยใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากรกพืช และ Stem Cell จากพืช จึงปล่อยเข้าสู่ตลาดเป็นนวัตกรรมใหม่

รกพืช คือส่วนของหน่ออ่อน ซึ่งมีเซลล์ต้นกำเนิด ( Stem Cell ) อยู่ มีควมสามารถแยกตัวแล้วเจริญเติบโตเป็นเซลล์ใหม่
ดังนั้น คำว่ารกพืช และสเต็มเซลล์พืช ( เซลล์ต้นกำเนิดจาก พืช ) จึงมักจะใช้ปะปนกัน อันหมายถึงเซลล์ต้นกำเนิดนั่นเอง
อะไร คือเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) เป็นที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้


1.มีความสามารถในการสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่
2.สามารถเพิ่มหรือสร้างเซลล์ที่ผิดแยกแตกต่างออกไป


เซลล์ ต้นกำเนิด ( Stem Cell ) ของคนมี 2 ชนิด ชนิดแรกมาจากตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cell ) อีกชนิดมาจากผู้ใหญ่ ( Adult Stem Cell ) ชนิดหลัง นักวิทยาศาสตร์เริ่มหันมาสนใจ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านจริยธรรม
เซลล์ต้นกำเนิดจากพืช ( Plant Stem Cell ) พืชมีสเต็มเซลล์อาศัยอยู่ในส่วนของเนื้อเยื่อหน่ออ่อนหรือรากอ่อน ซึ่งจะเจริญเติบโตแบ่งเซลล์ไปเป็นส่วนของต้นไม้ทั้งต้น


เซลล์ต้นกำเนิด ( Stem Cell ) ของคนมี 2 ชนิด ชนิดแรกมาจากตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cell ) อีกชนิดมาจากผู้ใหญ่ ( Adult Stem Cell ) ชนิดหลัง นักวิทยาศาสตร์เริ่มหันมาสนใจ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านจริยธรรม
เซลล์ต้นกำเนิดจากพืช ( Plant Stem Cell ) พืชมีสเต็มเซลล์อาศัยอยู่ในส่วนของเนื้อเยื่อหน่ออ่อนหรือรากอ่อน ซึ่งจะเจริญเติบโตแบ่งเซลล์ไปเป็นส่วนของต้นไม้ทั้งต้น
การนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้นไม้มาใช้แพร่พันธุ์ของเซลล์ต้น กำเนิดพืช อาจใช้แพร่พันธุ์ต้นไม้ทั้งต้น หรือเฉพาะเซลล์เนื้อเยื่อบางส่วน การปฎิบัติการที่สามารถผลิตพืชได้โดยไม่ขึ้นกับฤดูกาลและสิ่งแวดล้อม
นักวิจัยได้นำเทคนิคดังกล่าวไปเพาะเนื้อเยื่อของแอปเปิ้ล (apple) พันธุ์คัดเลือกพิเศษ ชื่อ Uttwiler Spatlauber ซึ่งนำไปเพาะปลูกในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
จากนั้นนาเพาะเนื้อเยื่อ ผ่านขบวนการหมักโดยใช้ชีวภาพสกัดจนได้ผลิตภัณฑ์นำมาใช้ชะลอความแก่ บนผิวหน้า และเส้นผม โดยสารสกัดนี้ใช้ความดันสูงในการสกัด แล้วผ่านกระบวนการหุ้มด้วย Liposome ได้สารที่เรียกว่า PhytoCellTec Malus Domestica จากงานวิจัยพบว่า

1. สามารถทำให้เซลล์มนุษย์มีการแบ่งตัว และเติบโตได้ 80%
2. ทำ ให้เซลล์ทนทานต่อรังสี UV อายุของเซลล์ยาวขึ้น (ดูได้จากเซลล์ที่ผ่านการทดลองด้วยแสง UV นำไปเพาะเลี้ยงจะรอดแค่ 50% แต่ถ้าใช้สารสกัดช่วยให้รอดเกือบหมด)
3. มีประสิทธิภาพเปนสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถป้องกันการทำลายเซลล์ จาก Hydrogen Peroxide ในการทดลองได้
4. ชะลอการแก่ของเซลล์จากต่อมบนเส้นผมได้ ดังนั้นจึงสามารถชะลอผมร่วง ทำให้อายของเซลล์ผมยืนยาวขึ้น
5. ถ้านำสารสกัดทำเป็นครีม โดยทาวันละ 2 ครั้ง ตามรอยตีนกา พบว่าสามารถทำให้ร่องตื้นขึ้น 8% ภายใน 2 สัปดาห์ หรือ 15% ภายใน 4 สัปดาห์

ผลิตภัณฑ์ ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ มักจะรวมรกพืชหรือสเต็มเซลล์ กับสารสกัดอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องสำอางค์ให้ได้สูงสุด ในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ที่นำรกพืชมาเพาะเนื้อเยื่อให้ได้สเต็มเซลล์ มาช่วยสร้างเซลล์ผิวเพิ่มเติมพร้อมทั้งใส่สารสกัดต่างๆ ที่ช่วยด้านผิวหน้า รวมเข้าด้วย เช่น Botox จากพืช ทำให้ผู้ใช้มีการปรับผิวทำให้หน้าใส ดูอ่อนเยาว์ทันที ผู้ผลิตรายแรกของประเทศไทย ได้แก่ บริษัท Fresh up beauty
สารสกัดที่คนเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด ได้แก่

* Palmitoyl pentapeptide – 3 ที่เรียกว่า Botox จากพืช เพื่อ
1. กระตุ้นการสร้าง Collagen
2. ซ่อมแซมเซลล์ผิว
3. ลดรอยย่น ทำให้ริ้วรอยตื้นขึ้น
4. ลดจุด ด่าง ดำ
* มีการเพิ่ม Hyalusonic มาเป็นส่วนประกอบใน Plant Stem Cell เพื่อ
1. ช่วยอุ้มน้ำ เพื่อความชุ่มชื่น ถึง 1,000 เท่าของน้ำหนัก
2. ทำให้ผิวเรีบตึง ลดรอยลึก และร่องของผิว
3. เป็นสารเริ่มต้นในการสร้าง Collagen
4. ช่วยให้ผิวดูอ่อนเยาว์
* มีการเพิ่ม Glycine Soja ( Soy Bean ) Seed Extract เพื่อ
1. เพื่อการสร้าง Collagen
2. ลดริ้วรอยที่เป็นร่องลึก
3. ทำให้ผิวตึงกระชับ
* มีการเพิ่ม Vitamin C เพื่อ
* ลดการสร้างเซลล์เม็ดสี ช่วยทำให้ใบหน้ากระจ่างใสขึ้น
* ทำให้ผิวตึงกระชับ
* ช่วยลดการอักเสบของสิว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น