วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

3 ผู้บริหาร “ปูแดง ไคโตซาน” มอบตัวสู้คดีแชร์ลูกโซ่ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างถึงที่สุด

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นายสมปอง แซ่ตั้ง ประธานกรรมการ บริษัทเบสท์ 59 จำกัด

3 ผู้บริหาร “ปูแดง ไคโตซาน” พร้อมทนาย เข้ามอบตัวสู้คดีแชร์ลูกโซ่ปูแดง ดีเอสไอจับทำประวัติ-พิมพ์ลายนิ้วมือ แจ้งข้อกล่าวหา ก่อนวางเงื่อนไขปล่อยตัวชั่วคราว 2 ข้อ ห้ามปลุกม็อบ-เคลื่อนย้ายเอกสาร โฆษกดีเอสไอมั่นใจหลักฐานน่าเชื่อถือกระทำความผิดจริง รับยังมีผู้เสียหายหลายคนยังไม่รู้ว่าถูกหลอก

วันนี้ ( 26 ม.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ รองอธิบดีดีเอสไอ และโฆษกดีเอสไอ แถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินคดีต่อบริษัท เบสท์ 59 จำกัด ผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อปูแดงไคโตซาน ซึ่งถูกจับกุมตรวจค้น ฐานกระทำการเข้าข่ายร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและมีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ว่า นอกจากนายเนตินันท์ ประดิษฐ์ชัย ที่ถูกควบคุมตัวไปก่อนหน้านี้ ในวันนี้ (26 ม.ค.)ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับอีก 3 คน คือ นายสมปอง แซ่ตั้ง ประธานกรรมการบริษัท, นายธนาพัทน์ กิจใบ และนายวิชาญ จำปาขาว พร้อมทนายได้เดินทางเข้ามามอบตัวเพื่อขอต่อสู้คดีด้วยตัวเอง ซึ่งสำนักคดีอาญาได้ดำเนินการตามขั้นตอนคือทำประวัติ พิมพ์ลายนิ้วมือ พร้อมทั้งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเข้าข่ายเห็นการกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.343 และ ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ม.4, 5, 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา ม.83

พ.ต.อ.ณรัชต์ ยืนยันว่าที่ผ่านมาการดำเนินการตรวจค้นจับกุมของ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ เป็นไปตามพยานหลักฐานซึ่งเพียงพอต่อการแจ้งข้อกล่าวหาได้ โดยเฉพาะกรณีดังกล่าวเมื่อเทียบเคียงกับคดีแชร์ลูกโซ่ที่เคยดำเนินคดีพบว่ามีลักษณะเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นนี้ พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า มี 2 เงื่อนไขคือห้ามเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือเคลื่อนย้ายเอกสารหลักฐาน และห้ามอยู่เบื้องหลังการปลุกปั่นยุยงให้สมาชิกเครือข่ายรวมตัวกันเคลื่อนไหว หากผิดเงื่อนไขสามารถถอนการให้ประกันตัวชั่วคราวได้ (ดีเอสไอจะกลัวทำไม ถ้าประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม ประชาชนจะออกมาเรียกร้องหาความเป้นธรรม ตากฏกหมายอยู่แล้ว หรือท่านใช้กฏหมายและอำนาจได้เพียงฝ่ายเดียว?)

พ.ต.อ.ณรัชต์ ย้ำว่า ด้วยการประสานความร่วมมือในการจับกุมถึง 4 หน่วยงานคือดีเอสไอ, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), กลุ่มงานป้องปราบการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และกรมวิชาการเกษตร ทำให้การตรวจสอบเรื่องดังกล่าวมีข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถึงการกระทำความผิด แม้ขณะนี้ยอมรับว่ายังมีผู้เสียหายหลายคนยังไม่ตระหนักว่าตัวเองเป็นผู้เสียหาย เพราะถือว่าสายโซ่ของขบวนการยังไม่ขาด สมาชิกบางส่วนยังได้เงินปันผลปกติด้วยการเอาเงินจากสมาชิกรายใหม่ไปจ่ายให้รายเก่า แต่เมื่อใดที่สายโซ่ขาดเพราะเมื่อนั้นผู้เสียหายก็จะรู้ตัว พร้อมชี้แจงข้อแตกต่างระหว่างการขายตรงกับแชร์ลูกโซ่ว่า โดยหลักการขายตรงจะเน้นการขายตัวผลิตภัณฑ์ รายได้หลักหรือผลประโยชน์ตอบแทนต้องมาจากการกระจายสินค้าไปสู้ผู้บริโภคอย่างแท้จริง ซึ่งการขายตรงสามารถขยายองค์กรด้วยการหาสมาชิกเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรงได้ แต่ต้องไม่กำหนดให้ได้รับผลตอบแทนเป็นรายได้หลักจากการแนะนำผู้จำหน่าย หรือตัวแทนขายตรงเข้าร่วมเป็นเครือข่าย (ทุกบริษัทขายตรงก็มีแผนการตลาดที่ประกาศให้สมาชิกทราบถึงผลตอบแทนอยู่แล้ว)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น