วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สุดยอดนวัตกรรม ไหมละลายเคลือบไตรโคซานต้านแบคทีเรีย

การติดเชื้อของแผลผ่าตัด ถือได้ว่าการติดเชื้อจากแบคทีเรียของแผลผ่าตัดเป็นภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่พบบ่อยมากอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อที่ได้รับเชื้อ จากโรงพยาบาลมีมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ โรคมะเร็งเต้านม และผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์รวมกัน

สำหรับปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัดนั้น เกิดได้จาก 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น อายุ โรคประจำตัว ระดับภูมิคุ้มกัน ภาวะโภชนา การ การสูบบุหรี่ เป็นต้น เทคนิคและวิธีการปฏิบัติตัวในห้องผ่าตัดของบุคลากรทางการแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์

ทั้งนี้ ไม่ว่าภาวะการติดเชื้อจะมาจากปัจจัยใด ต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อคือ แบคทีเรีย ดังนั้นการป้องกันการเกิดและสะสมของเชื้อแบคทีเรียจึงเป็นวิธีการยับยั้งการติดเชื้อที่ต้นเหตุอย่างหนึ่ง ซึ่งย่อมดีกว่าการรักษาอาการติดเชื้อในภายหลัง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสกับแผลโดยตรง เช่น ไหมละลายเคลือบด้วยไตรโคซานที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อช่วยลดภาวะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าทางโรงพยาบาลจะเห็นความสำคัญของนวัตกรรมเหล่านี้ และเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยอย่างไร

อาจารย์นายแพทย์ วิทูร ชินสว่างวัฒนกุล รองหัวหน้าภาควิชาฝ่ายวิจัยและวิชาการ ร.พ.ศิริราช กล่าวว่า นวัตกรรมไหมละลายต้าน แบคทีเรียที่เคลือบด้วยไตรโคซาน ซึ่งเป็นสาร ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาบ้วน ปากกันมาเป็นเวลานานนั้นเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถ ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อตรงบริเวณแผลผ่าตัดได้เป็นอย่างดี

ไตรโคซานเป็นสารที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ว่า มีความบริสุทธิ์สูง มีความปลอดภัย ไม่มีพิษต่อร่างกาย มีประสิทธิภาพต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุของการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด ความปลอดภัยอาจจะเห็นได้จากความนิยมในการใช้ไตรโคซานเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง เช่น ยาสีฟัน ครีมล้างหน้า ครีมอาบน้ำ น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น

จากการศึกษาในประเทศไทยถึงผลกระทบที่ตามมาจากการติดเชื้อของแผลผ่าตัด พบผลกระทบทางตรง ได้แก่ ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลนานขึ้น และทำให้ ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ที่ผ่านมาพบว่าการติดเชื้อที่เกิดจากแผลผ่าตัดทำให้ประเทศต้องเสียงบประมาณไปกว่า 1,600-2,400 ล้านบาทต่อปีในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล รวมถึงการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ควรหันมาให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงการ ติดเชื้อจากโรงพยาบาล ด้วยการเพิ่มมาตรการให้เข้มงวดยิ่งขึ้น และไม่ละเลยการนำ นวัตกรรมที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวมาใช้กับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น