วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประโยชน์ไคโตซานด้านการเกษตรกรรม พืชสวน ไร่ นา ผลไม้ ข้าว และพืชเศรษฐกิจต่างๆ

1. ไคโตซานกับพืชเป็น Plant Growth Regulator

          ไคโตซาน เป็นโพลิเมอร์ชีวภาพที่พบได้ในส่วนที่เป็นผนังของเชื้อรา เช่น Fusarium Soloni หรือแมลง ดังนั้นการใช้อนุพันธ์ไคตินเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชโดยการกระตุ้นหรือยับยั้ง กระบวนการทางสรีระของพืชและเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของการดำรงชีพของพืชทางด้านต่างๆ เช่น
1. เร่งอัตราการเจริญเติบโต
2. ลดเวลาการเพาะปลูกลงและทำให้เกิดผลผลิตได้เร็วกว่าปกติ
3.สร้างความแข็งแรงของพืช ในการต้านลมและสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ทำให้รากงอกเร็วขึ้น มีจำนวนมาก สามารถยึดเกาะดินได้
4. ทำให้การงอกเมล็ดเร็วขึ้น และควบคุมวัชพืช
5. ทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นต่อพืชที่ปลูก
6. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงมากกว่า 50 %

  2. ไคโตซานกับการเคลือบเมล็ด
        การใช้อนุพันธ์ไคตินและไคโตซานอย่างถูกต้องนำมาเคลือบเมล็ด แสดงผลต่ออัตราการงอกที่สูงขึ้น เวลาการงอกเร็วขึ้น เนื่องจากอนุพันธ์ไคตินและไคโตซาน ช่วยให้เกิดการป้องกันศัตรูพืชบางชนิด

 3. ไคโตซานกับการกระตุ้นการเจริญเติบโตของราก
        ช่วยพัฒนาระบบรากให้มีภูมิต้านทานโรค Root lodging ลดการเกิดปัญหากับโรคที่เกิดจากสารจำพวก Root-rotting โดยสารอนุพันธ์ของไคโตซาน จะช่วยให้เชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด ผลิตเอนไซม์ เพื่อย่อยสลายผนังเซลของเชื้อราโรคพืช ทำให้โอกาสที่จะมารบกวนหรือกระทำต่อรากน้อยลง

 4. ไคโตซานใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติ
        เนื่องจากโดยธรรมชาติอนุพันธ์ ไคโตซาน จะมีไนโตรเจนประมาณ7-10%จะถูกปลดปล่อยออกจากโมเลกุลอย่างช้าๆด้วยเอนไซม์ที่สิ่งมีชีวิต ผลิตขึ้นรวมทั้งอนุพันธ์ ไคโตซาน นั้นยังเป็นตัวตรึงไนโตรเจนไม่ว่าจากอากาศหรือจากดิน ในกรณีของเห็ดนั้น อนุพันธ์ ไคโตซาน จะเป็นตัวตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Co2 Fixation) 

5. ไคโตซานกับการเคลือบผลิตผลทางการเกษตร
         นับเป็นสิ่งที่ดีที่มีการเริ่มนำเอาอนุพันธ์ไคโตซานมาใช้ในการยืดอายุการเก็บผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งมีหลักและเหตุผลจากอนุพันธ์ไคตินที่ส่งผลดังกล่าวคือ เป็นสารป้องกันการเกิดเชื้อราที่ผิว อัตราการสูญเสียน้ำลดลง ช่วยลดการหายใจและการผลิตก๊าซเอธิลีน ทำให้บรรยากาศภายในมีการเปลี่ยนแปลงผิวและสีช้าลง ดังนั้นในการที่จะใช้อนุพันธ์ไคโตซานให้เหมาะสมควรดำเนินการใช้ก่อนการเก็บผลผลิต

 4. ไคโตซานเพื่อต่อต้านเชื้อรา แมลง และสร้างภูมิต้านทานโรค
                                                         
         ไคโตซาน มีผลต่อการต้านทานและกำจัดเชื้อรา และแบคทีเรียบางประเภทได้หลายชนิด เช่น ไทรโคเดอร์มา ไฟทอปธอรา แอนแทรคโนส เมลาโนส โรครากเน่า-โคนเน่า ราน้ำค้าง ราขาว โรคแคงคอร์ โรคใบติด โรคใบจุดโรคใบสีส้มในนาข้าวและ อื่นๆ ซึ่งเกิดจากโครงสร้างทางประจุและสร้างเอนไซม์ซึ่งทำให้ย่อยสลายทำลายเชื้อรา-โรคพืชได้อย่างดีพบว่า ไคโตซานสามารถ เข้าสู่เซลล์เชื้อราและทำให้เกิดการยับยั้งการสร้างและสะสมของ RNAจึงทำให้เชื้อราถูกยับยั้งการเจริญเติบโตแต่ในเชื้อราบางประเภทและแบคทีเรีย บางชนิดที่มีประโยชน์จะมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อใช้อนุพันธ์ไคติน และ ไคโตซาน เช่น ในการใช้กับเห็ด ทั้งนี้ยังช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค โดย  ไคโตซานจะไปกระตุ้น DNA ในนิวเคลียสพืชในการสร้าง Gene ซึ่งควบคุมระบบภูมิคุ้มกันโรค และมีผลต่อการสร้างสารลิกนิน (Lignin) ในพืช ซึ่งจะพบเห็นด้วยตาเปล่าจาก Wax ที่เคลือบบนใบพืช
-----------------------------------------------------------------------------
ติดต่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญไคโตซาน (Chitosan) และปูแดง168
Tel:083-0340025 | LineID:chet111
www.PoodangSiam.com | www.fb.com/Poodang | www.ปูแดง168.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น