วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กรดฮิวหมิก (Humic Acid)

กรดฮิวหมิก (Humic Acid)
คุณสมบัติของกรดฮิวมิกซึ่งเป็นสารประเภทหนึ่งของสารฮิวมิก เป็นสารปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถอุ้มน้ำได้ดี และมีระดับอินทรีย์วัตถุในปริมาณที่พอเหมาะ ตลอดจนช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น

สารฮิวหมิก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. กรดฮิวมิก (Humic Acid) ซึ่งละลายในสารละลายด่างเจือจาง และนำสารละลายด่างที่สกัดได้นั้นมาตกตะกอนด้วยกรด จะได้ตะกอนของกรดฮิวมิก เมื่อเอากรดฮิวมิกมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ได้ส่วนที่ละลาย คือ กรดไฮมาโทเมลานิก (Hymatomelanic Acid) หรือเอาตะกอนกรดฮิวมิกมาละลายด้วยด่าง แล้วเติมอิเล็กโทรไลน์ (Electrolyte) จะได้ตะกอนของกรดฮิวมิกสีเทา ส่วนที่ไม่ตกตะกอน คือ กรดฮิวมิกสีน้ำตาล
2. กรดฟูลวิก (Fulvic acid) สารละลายที่เหลือจากการทำให้เป็นกรดฮิวมิก นั่นคือกรดฟูลวิก สามารถละลายได้ทั้งในกรดและด่าง
3. ฮิวมิน (Humin)
คือ สารฮิวมิกซึ่งไม่สามารถสกัดได้ด้วยสารละลายด่างเจือจางและกรด

กรดฮิวมิกเป็นสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็น Polyphenol ที่เสถียรแต่สลับซับซ้อน ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ในดิน พบได้ในพีท ลิกไนต์ และแร่ลีโอไดท์ เป็นต้น กรดฮิวมิกมีส่วนประกอบของหมู่คาร์บอกซิล หมู่ฟีนอล หมู่คาร์บอนิล หมู่แอลกอฮอล์ และหมู่ฟังชันแนลอื่น ๆ มีน้ำหนักโมเลกุลตั้งแต่น้อยกว่า 1,000 จนถึง 100,000 กรดฮิวมิก สามารถละลายได้ในสารละลายด่างแต่ไม่ละลายในแอลกอฮอล์ กรดฮิวมิกมีองค์ประกอบของคาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) ไฮโดรเจน(H) กำมะถัน(S) ไนโตรเจน(N) และ ธาตุอื่น ๆ อีกเล็กน้อย

การสกัดกรดฮิวมิกนั้นในทางเคมีสามารถทำได้โดยใช้สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดฮิวมกจะถูกสกัดเข้ามาละลายอยู่ในชั้ชของสารละลายด่างเป็นโซเดียมฮิวเมท จากนั้นนำสารละลายที่ได้มาตกตะกอนให้เป็นกรดฮิวมิกด้วยกรดเกลือ โดยการปรับ pH ของสารละลาย น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 และนำเข้าเครื่องเหวี่ยงเพื่อแยกตะกอนของกรดฮิวมิกออกมา ถึงแม้ว่ากรดฮิวมิกจะไม่ใช่ปุ๋ย แต่ก็มีการนำมาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงดินทั้งทางกายภาพและทางเคมี

สมบัติทางกายภาพ
กรดฮิวมิกจะรักษาโครงสร้างของดินให้อุ้มน้ำและระบายอากาศได้ดี ในอนุภาคของดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูงจะมีประจุบวกและประจุลบอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้มีแรงยึดเหนี่ยวสูง จึงส่งผลให้ดินมีความละเอียดและความหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อระบบรากของพืชที่ดูดซึมแร่ธาตอาหารและน้ำ กรดฮิวมิกสามารถปรับปรุงดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูงเนื่องจากในโครงสร้างโมเลกุลของกรดฮิวมิกมีหมู่คาร์บอกซิล ซึ่งจะไปสร้างพันธะกับอนุภาคประจุบวกในดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูง และทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างประจุบวกและประจุลบออกจากกัน ซึ่งจะทำให้ชั้นดินมีความโปร่งขึ้น ส่งผลให้น้ำและอากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้ดีขึ้น

นอกจากนั้นกรดฮิวมิกสามารถป้องกันไม่ให้น้ำระเหยไปจากดิน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญยิ่งสหำรับดินที่มีความเป็นดินเหนียวต่ำ ดินทราย และดินในพื้นที่แห้งแล้ง ที่ไม่สามารถจะดูดซับน้ำไว้ได้ เมื่อดินที่มีลักษณะดังกล่าวมีน้ำผ่านเข้ามา ประจุบวกที่กรดฮิวมิกได้ดูดซับไว้จะสร้างพันธะกับประจุลบของน้ำคือออกซิเจน ส่วนประจุลบที่เหลืออยู่ในน้ำคือไฮโดรเจนนั้นก็จะสามารถสร้างพันธะไฮโดคเจนกับอะตอมของออกซิเจนในน้ำโมเลกุลอื่นๆ ต่อๆ ไป ทำให้น้ำระเหยออกจากดินน้อยลง หรือสามารถอุ้มน้ำได้ มาขึ้นนั่นเอง

สมบัติทางเคมี
กรดฮิวมิกมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารเพื่อที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นให้แก่พืช เพื่อที่จะได้นำสารเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การออกดอกออกผล กล่าวคือกรดฮิวมิกสามารถยึดประจุบวกของธาตุอาหารเสริมภายใต้สภาวะหนึ่งและจะปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้น เมื่อสภาวะเปลี่ยนไป ด้วยคุณสมบัตินี้เมื่อกรดฮิวมิกเคลื่อนที่เข้าไปไกล้บริเวณรากของพืช ซึ่งระบบรากพืชจะมีประจะลบ พวกธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นก็จะถูกปล่อยจากโมเลกุลของกรดฮิวมิกเข้าไปสู่ระบบรากพืช ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ากรดฮิวมิกมีความสำคัญอย่างมากในการเป็นสื่อกลางการลำเลียงธาตุอาหารจากดินไปสู่รากพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น