วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การบำรุงรักษารถยนต์ด้วยตนเอง

การบำรุงรักษารถยนต์ด้วยตนเอง
1. น้ำหล่อเย็น ควรตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นให้อยู่ในระดับ Full อยู่เสมอ โดยตรวจเช็คในขณะที่ดับเครื่อง และเครื่องเย็น ถ้าระดับน้ำลดลงเป็นปริมาณมากก็อาจจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นได้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาหาสาเหตุ หรือนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คสาเหตุ (อย่าลืมเติมน้ำก่อนนำรถไป)

2. ระดับน้ำมันเครื่อง การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง อุ่นเครื่องยนต์จนถึงอุณหภูมิทำงานแล้วดับเครื่องเช็คระดับน้ำมันเครื่องโดยใช้ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง
- เพื่อให้การตรวจเช็คถูกต้อง รถควรอยู่ในแนวระดับเครื่องยังร้อน และทำการวัดหลังจากดับเครื่อง 2-3นาทีเพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงด้านล่างก่อน
- ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออก เช็คน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัดด้วยผ้า
- เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องคืนกลับจุดเดิม
- ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่าง " F " กับ " L " แสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องปกติ
ข้อควรระวัง
- หลีกเลี่ยงการเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
- ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องที่ก้านวัดอีกครั้งหลังเติมน้ำมันเครื่องลงไป

3. ระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ควรตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ให้อยู่ในตำแหน่งUPPER/LEVEL และไม่ควรเติมเกินกว่าระดับ UPPER/LEVEL เพราะถ้าเติมมากเกินไป น้ำยาอิเลคโทรไลท์ซึ่งเป็นสารละลายกรดซัลฟูริค จะเจือจางทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงนอกจากนี้ น้ำยาอิเลคโทรไลท์อาจจะกระเด็นออกทางรูระบายไอ และไปกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์ได้

ข้อควรระวัง
- ปิดฝาเติมน้ำกลั่นให้แน่น
- ขั้วแบตเตอรี่ที่ขั้วบวกและลบขันแน่น
- แบตเตอรี่ยึดแน่นกับฐานที่ตั้ง

4. ระดับน้ำมันเบรก ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันเบรคมีคำว่า MAX และ MIN ระดับน้ำมันเบรคควรอยู่ที่ระดับ MAX อยู่เสมอ สาเหตุที่เป็นไปได้ ที่มีผลทำให้ปริมาณน้ำมันเบรคในกระปุกน้ำมันเบรคลดลงต่ำลงมี 2 ข้อ คือ
- มีการรั่วของน้ำมันเบรคออกจากระบบเบรค
- การสึกหรอของผ้าเบรค ซึ่งระดับน้ำมันเบรคจะลดลงน้อยและช้ามาก ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำมันเบรค
ถ้าพบว่าระดับน้ำมันเบรคในกระปุกน้ำมันเบรคลดลงต่ำลงรวดเร็ว ควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจเช็คสาเหตุ

5. ระดับน้ำมันคลัทช์ ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันคลัทช์ จะมีคำว่า MAX กับ MIN ระดับน้ำมันคลัชท์ควรอยู่ที่ระดับ MAX เสมอ ถ้าพบว่าระดับน้ำมันคลัทช์ในกระปุกลดลงต่ำลง ควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจเช็คหาสาเหตุ

6. ระดับน้ำมันเกียร์ AUTO ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ AUTO ออกเช็คน้ำมันเกียร์ที่ติดก้านวัดด้วยผ้า แล้วเสียบก้านวัดน้ำมันเกียร์คืนกลับจุดเดิม ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจระดับน้ำมันเกียร์ที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมันเกียร์อยู่ที่ขีด F พอดี แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์ปกติ

7. ตรวจเช็คระดับน้ำมัน POWER ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการหมุนฝาปิดกระปุกน้ำมันPOWER จะติดอยู่กับฝากระปุกน้ำมัน POWER ที่ก้านวัดจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้าน ถ้าวัดตอนที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ให้ดูด้าน COLD ถ้าวัดตอนเครื่องร้อนให้ดูด้าน HOT ถ้าเป็นรุ่นใหม่ให้ดูที่กระปุกน้ำมันPOWER จะเป็นพลาสติกใส ที่กระปุกจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้าน และมีขีดระดับ MAX กับ MIN อยู่ด้วยระดับน้ำมัน POWER ควรอยู่ระดับ MAX เสมอ ถ้าดูตอนเครื่องยนต์เย็นให้ดูด้าน COLD และถ้าดูตอนเครื่องยนต์ร้อนให้ดูด้าน HOT

8. ตรวจเช็คสภาพของสายพาน โดยวิธีการมองดูที่สายพาน ถ้าพบรอยแตกเกิดขึ้นควรทำการเปลี่ยนแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะใช้รถได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ก็ควรตรวจดูความตึงของสายพานด้วย โดยการใช้นิ้วกดลงบนสายพานตรงกลางระหว่างมู่เล่สองข้างถ้าสามารถกดลงได้เล็กน้อย ประมาณ 10 มม. ก็น่าจะพอใช้ได้ ( ถ้าไม่แน่ใจควรให้ช่างตรวจสอบเพราะการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ตรวจต้องมีความชำนาญพอสมควร )

9. ตรวจเช็คสภาพภายในห้องเครื่อง โดยวิธีการมองดูรอบๆภายในห้องเครื่อง ให้สังเกตดูว่า มีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น ท่อยางหม้อน้ำมีคราบน้ำซึมหรือไม่ สายไฟภายในห้องเครื่องเรียบร้อยดีหรือไม่ มีหนูขึ้นมากัดหรือไม่ มีคราบน้ำมันเครื่องรั่วซึมหรือไม่ เป็นต้น

10. ตรวจเช็คระบบไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณต่างๆ เปิดไฟทั้งหมดดูว่าทำงานตามปกติหรือไม่ มีหลอดไหนไม่ติดหรือไม่ ถ้าพบว่ามีไฟหลอดไหนไม่ติดควรเปลี่ยนให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน หรือนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ค

11. ตรวจเช็คที่ปัดน้ำฝน ยางปัดน้ำฝนเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ก็อาจมีการเสื่อมสภาพ ซึ่งเนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้
- ผิวสัมผัสส่วนปลายมีการสึกหรอ จากการทำงานปกติของใบปัด
- มีสิ่งสกปรก และหินทรายละเอียดอยู่ระหว่างยางใบปัดกับกระจกทำให้ยางปัดน้ำฝนสึกหรอ
- เมื่อใบปัดน้ำฝนผ่านการใช้งานนานๆ ยางใบปัดน้ำฝนจะแข็งตัว การยืดหยุ่นจะลดลงและความบกพร่องในการปัดจะเกิดขึ้น เนื่องจากหน้าสัมผัสระหว่างยางใบปัดกับกระจกไม่ดี รวมทั้งอาจเกิดจากใบปัดน้ำฝนเกิดอาการสั่นเต้น หรืออาการอื่นๆ ถ้าพบอาการเหล่านี้ควรเปลี่ยนยางปัดน้ำฝนใหม่

12. ตรวจเช็คยาง ควรเช็คแรงดันลมยางอยู่เสมอๆ โดยใช้ความดันลมยางตามที่ผู้ผลิตกำหนด และควรเช็คขณะที่รถยังไม่ได้ใช้งาน( ยางยังไม่ร้อน ) ถ้าลมยางอ่อนผิดปกติควรนำไปตรวจสอบว่า มีตะปูตำหรือไม่ ดูสภาพยางด้วยตาดูที่ผิวยางมีรอยแตกเล็กๆ หรือไม่ ดูการสึกหรอของดอกยาง กล่าวคือ ดอกยางสึกมากไปหรือยัง หรือมีการสึกหรอผิดปกติ เช่น ลึกเฉพาะตรงกลางหน้ายาง ( เติมลมมากเกินไป ) สึกเฉพาะขอบยางทั้ง 2 ข้าง( ลมยางอ่อนเกินไป ) หรือสึกด้านใดด้านหนึ่ง ฯลฯ ซึ่งกรณีเหล่านี้ ควรปรึกษาช่าง เพราะควรจะมีการตรวจเช็คช่วงล่าง และศูนย์ล้อ เอาเล็บมือกดดูที่เนื้อยางว่า นิ่ม หรือ แข็ง ถ้ายางหมดสภาพ เนื้อยางจะกดไม่ลงจะแข็งมาก

เข้าถึงลูกค้าอย่างไรให้รวดเร็ว

SMEThailand Club

ให้ลูกค้าหาพวก

SMEThailand Club

ประโยชน์ของงบกระแสเงินสด

SMEThailand Club

พนักงานที่องค์กรต้องการ

SMEThailand Club

กลยุทธ์การจับลูกค้าให้อยู่หมัด

SMEs - Manager Online - กลยุทธ์การจับลูกค้าให้อยู่หมัด