วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับดิน

ความรู้เกี่ยวกับดิน สิ่ง ที่มีชีวิตทั้งหลายต้องอาศัยดินในการยังชีพและการเจริญเติบโต ถ้าปราศจากดินก็แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีสิ่งมีชีวิตเหลืออยู่ในโลกนี้เลย
ดินเป็นที่มาของปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นการได้มาโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ พืชต้องอาศัยดินในการเจริญเติบโต ตั้งแต่เริ่มงอกออกจากเมล็ด จนกระทั่งโตให้ดอกให้ผล เนื่อง จากดินเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่ควบคุมหรือ กำหนดการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นในการปลูกพืช จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของดินพอสมควร
สิ่งที่พืชได้รับจากดินพอจะสรุปได้ ดังนี้
- ดินเป็นที่หยั่งรากยึดลำต้นให้ตั้งตรง
- ได้รับน้ำและอากาศจากดิน
- ได้รับธาตุอาหารเกือบทุกชนิดจากดิน
ดินคืออะไร คำจำกัดความของ "ดิน" ในทางการเกษตร จะหมายถึงวัตถุที่เกิดขึ้นจากการผุพังของหินและแร่ธาตุต่าง ๆ ผสมคลุกเคล้ากับซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยแล้ว ซึ่งเรียกว่าอินทรีย์วัตถุ ทำให้เกิดเป็นวัตถุที่เรียกว่า ดิน ซึ่งเป็นที่ให้พืชต่าง ๆ เจริญงอกงามอยู่ได้
ดินประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ
1. แร่ธาตุ
2. อินทรีย์วัตถุ (ซากพืช ซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อยแล้ว)
3. น้ำ
4. อากาศ
1. แร่ธาตุ ส่วนประกอบของดินที่เป็นแร่ธาตุนั้น ได้มาจากการสลายตัวผุพังของหิน และแร่ชนิดต่าง ๆ มากมายหลายชนิด แตกต่างกันไปตามท้องที่
ดังนั้น ดินในแต่ละท้องที่จึงมีส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป และแร่ธาตุเพียงบางชนิดเท่านั้นที่พืชจะดูดขึ้นมาใช้เป็นอาหาร
ส่วนของแร่ธาตุจะเป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดในดิน คือ จะมีประมาณ 45% โดยปริมาตร
2. อินทรียวัตถุ ในดินได้มาจากการเน่าเปื่อยผุผัง ของซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้วทับถมกันอยู่บนดิน อินทรีย์ในดินมีความสำคัญมาก คือ
1. เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารพืชบางชนิด
2. ทำให้ดินสามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
3. ทำให้ดินตรึงธาตุอาหารไว้ได้มากขึ้น
4. ทำให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น
อินทรีย์วัตถุในดิน แม้จะมีปริมาณที่น้อย เมื่อเทียบกับส่วนประกอบอื่น ๆ ของดิน คือมีประมาณ 5% โดยปริมาตร แต่เป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อพืชมาก
น้ำในดิน ส่วนมากมาจากน้ำฝน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนบางส่วนจะไหลซึมลงไปในดิน และบางส่วนจะไหลบ่าไปตามผิวหน้าดิน
3. น้ำฝน ส่วนที่ไหลซึมลงไปในดิน จะถูกดูดซับไว้ในช่องระหว่างเม็ดดิน ดินแต่ละชนิดจะอุ้มน้ำไว้ได้มากน้อยไม่เท่ากัน ดินทรายจะอุ้มน้ำได้น้อยกว่า ดินเหนียว ดินที่เหมาะต่อการเพาะปลูกพืชควรมีส่วนที่เป็นน้ำอยู่ประมาณ 25% โดยปริมาตร น้ำในดินนั้นไม่ใช่น้ำบริสุทธิ์ แต่จะมีแร่ธาตุต่าง ๆ ละลายอยู่ และพืชจะดูดดึงเอาแร่ธาตุบางชนิด ที่ละลายอยู่ในน้ำไปใช้เป็นอาหาร
พืช กินอาหารในรูปของสารละลาย ฉะนั้น ถ้าปราศจากซึ่งน้ำหรือความชื้นในดิน แม้จะมีธาตุอาหารอยู่มากในดิน พืชก็ไม่สามารถดูดขึ้นไปใช้ได้
ส่วนประกอบส่วนที่ 4 ของดิน คือ อากาศในดิน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน เพราะการที่รากจะดูดอาหารขึ้นไปใช้ได้นั้น รากพืชต้องใช้พลังงาน และพลังงานนั้นได้มาจากการหายใจ
ดังนั้น ในดินที่มีน้ำขังหรือดินที่แน่นทึบ พืชจะไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร เพราะรากพืชขาดอากาศสำหรับหายใจ จึงทำให้ไม่สามารถดูดธาตุอาหารขึ้นไปใช้ได้
ดินเป็นสิ่งที่มี 3 มิติ มีทั้ง ความกว้าง ความยาว และความลึก
- ถ้าเราขุดลงไปในดินลึก ๆ และสังเกตดินข้างหลุมให้ละเอียด เราจะเห็นว่าดินสามารถแบ่ง ออกเป็นชั้น ๆ ได้ตามความลึก
- ดินในแต่ละท้องที่มีชั้นดินไม่เหมือนกัน จำนวนชั้นของดินก็มากน้อยไม่เท่ากัน ความตื้น ความลึกของดินแต่ละชั้นไม่เท่ากัน สีของดินแต่ละชั้นไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน และยังมีลักษณะอย่างอื่นแตกต่างกันออกไปอีกมากมาย
เรายังสามารถแบ่งชั้นดินตามความลึกออกเป็นชั้นได้คร่าว ๆ 2 ชั้น
- ดินชั้นบนหรือเรียกว่า ชั้นไถพรวน ดินชั้นนี้มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกมาก เพราะรากของพืชส่วนใหญ่จะชอนไชหาอาหารที่ชั้นนี้ ดินชั้นบนนี้เป็นชั้นที่มีอินทรีย์วัตถุสูงกว่าชั้นอื่น ๆ โดยปกติดินจะมีสีเข้ม หรือคล้ำกว่าชั้นอื่น
- ในดินที่มีการทำการเพาะปลูกทั่ว ๆ ไป จะมีดินชั้นบนหนาตั้งแต่ 0 - 15 ซม.
- ดินชั้นล่าง รากพืชของไม้ผล ไม้ยืนต้นจะชอนไชลงไปถึงชั้นนี้ ปกติดินชั้นล่างเป็นชั้นที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย
-ดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกควรจะมีหน้าดิน (ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง) ลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
คุณสมบัติของดิน เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช มีด้วยกันหลายอย่าง เนื้อดิน เป็นสมบัติที่บ่งบอกถึงความหยาบ ความละเอียดของดิน แบ่งคร่าว ๆ ได้ 3 ชนิด คือ ดินทราย ดินร่วน และดินเหนียว
1. ดินเหนียว (Clay) คือ ดินที่มีเนื้อละเอียดที่สุด ยืดหยุ่นเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ ปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ พังทลายได้ยาก การอุ้มน้ำดี จับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ค่อนข้างสูงจึงมีธาตุอาหารพืชอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ปลูกข้าวนาดำเพราะเก็บน้ำได้นาน
2. ดินทราย (Sand) เป็นดินที่เกาะตัวกันไม่แน่น ระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก อุ้มน้ำได้น้อย พังทลายง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารมีน้อย พืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณดินทรายจึงขาดน้ำและธาตุอาหารได้ง่าย
3. ดินร่วน (Loam) คือ ดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด นุ่มมือ ยืดหยุ่นพอควร ระบายน้ำได้ดีปานกลาง มีแร่ธาตุอาหารพืชมากกว่าดินทราย เหมาะสำหรับใช้เพาะปลูก ดินร่วนที่แท้จริงมักไม่ค่อยพบในธรรมชาติ แต่จะพบพวกที่มีเนื้อดินใกล้เคียงเสียเป็นส่วนมาก
เนื้อดินเป็นสมบัติที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก แม้จะมีการใช้ที่ดินทำการเกษตรติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ดินร่วนจึงนับเป็นดินที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชมากกว่าดินเหนียว และดินทราย
ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน หรือที่เรียกว่า พี.เอช. (pH) ของดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินจะบอกเป็นค่าตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 14
ถ้าดินมีค่า พี.เอช. น้อยกว่า 7 ดินนั้นจะเป็นกรด ยิ่งน้อยกว่า 7 มากก็จะเป็นกรดมาก ถ้าดินมีค่น พี.เอช. มากกว่า 7 จะเป็นดินด่าง ดินที่มีค่า พี.เอช. เท่ากับ 7 พอดี แสดงว่าดินเป็นกลาง
ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน จะเป็นตัวควบคุมความมากน้อยของธาตุอาหาร ที่จะละลายออกมาอยู่ในน้ำในดิน การละลายได้มากน้อยของธาตุอาหารพืชที่ช่วงความเป็นกรดเป็นด่างต่าง ๆ
ใน กรณีที่ พี.เอช. ของดินเป็นกรดมากเกินไป จะต้องทำการแก้ความเป็นกรดโดยการใส่ปูน จะเป็นปูนขาวหรือปูนมาร์ลก็ได้ ก่อนที่จะทำการปลูกพืช สำหรับจำนวนปูนที่จะใส่นั้นจะรู้ได้โดยการเก็บดินส่งไปวิเคราะห์
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน หมายถึง ความมากน้อยของธาตุอาหารพืชที่พืชจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดินที่อุดมสมบูรณ์หมายถึง ดินมีธาตุอาหารมาก และเมื่อสภาพแวดล้อมของดินเหมาะสม พืชก็เจริญเติบโตดี ส่วนดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ แม้มีสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เหมาะสม พืชก็จะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรแม้ดินประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิด แต่แร่ธาตุที่พืชสามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้มีเพียง 13 ชนิดเท่านั้น ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
ในดินแต่ละชนิดจะมีแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน แร่ธาตุที่มีอยู่ในดินเหล่านั้นพืชจะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด คือสามารถนำไปใช้ได้เพียงส่วนน้อย เฉพาะส่วนที่ละลายน้ำได้เท่านั้นในดินที่ทำการเกษตรทั่ว ๆ ไป มักจะขาดธาตุอาหารอยู่ 3 ธาตุ มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียมดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความสมบูรณ์ได้โดยการใส่ปุ๋ยการที่จะรู้ว่าดินแปลงหนึ่ง ๆ มีความอุดมสมบูรณ์หรือไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือไม่ ใส่ปุ๋ยชนิดใด จำนวนเท่าใดนั้น ต้องมีการตรวจสอบหรือประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินแปลงนั้น ๆ เสียก่อน ซึ่งทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ
1. การสังเกตอาการของพืชที่ปลูก
2. การวิเคราะห์พืช
3. การวิเคราะห์ดิน
4. การทดลองใส่ปุ๋ยในไร่นา
วิธีการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ที่ ง่ายสะดวกและรวดเร็วก็คือ การสังเกตอาการของพืชที่ปลูก แต่วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญมาก ผลที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องนัก และใช้ได้บางพืชเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะอาการที่พืชแสดงออกเมื่อขาดธาตุอาหารมักจะคล้าย ๆ กัน ยากจะบอกได้
ส่วนวิธีที่แม่นยำที่สุด คือ การทดลองใส่ปุ๋ยในไร่นา แต่วิธีนี้สิ้นเปลืองมากและเสียเวลา เพราะต้องทำแปลงทดลอง ทุกที่ที่ต้องการรู้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และต้องรอคอยจนกว่าเก็บเกี่ยวผลผลิตถึงจะรู้
การ วิเคราะห์พืช เป็นวิธีที่มีความยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องพิจารณาว่าจะเก็บส่วนใดของพืชมาวิเคราะห์ อายุ หรือช่วงเวลาในการเก็บก็มีความสำคัญด้วย
วิธีที่นิยมกันกว้างขวางก็ คือ การวิเคราะห์ดิน โดยเก็บตัวอย่างดินมาเคราะห์ และนำค่าที่วิเคราะห์ได้ มาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานก็จะได้ทราบว่าดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มากน้อย เพียงใด
สิ่งที่ควรคำนึงและเข้าใจก็ คือ ดิน เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายปัจจัย เช่น พันธุ์ โรค แมลง ศัตรูพืช การจัดการและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน

เกี่ยวกับปุ๋ย คำว่า "ปุ๋ย"

เกี่ยวกับปุ๋ย

คำว่า "ปุ๋ย" นั้น โดยทั่วไปหมายถึงวัสดุใด ๆ ก็ตาม ที่นำมาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาหารแก่พืชอาหารพืช หรือที่เรียกกันว่า ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชนั้นมี 16 ธาตุ ได้แก่ ออกซิเจน ไฮโตรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานิส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน

พืชได้รับ ออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอน จากน้ำและอากาศ ทั้งที่อยู่เหนือดินและใต้ดิน ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุ นั้นพืชได้จากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของดิน
ธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย มี 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรตัสเซียม ธาตุอาหารในกลุ่มนี้ พืชต้องการในปริมาณมาก และดินมักจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงต้องเพิ่มเติมให้แก่พืชโดยการใช้ปุ๋ย

ธาตุอาหารรองมี 3 ธาตุเช่นกัน คือ กำมะถัน แคลเซียม และแมกนีเซียม ธาตุอาหารในกลุ่มพืชนี้ พืชต้องการในปริมาณมากเช่นกัน แต่ในดินส่วนใหญ่มักจะมีอยู่เพียงพอต่อความต้องการของพืช
กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มธาตุอาหารเสริม มี 7 ธาตุ คือ เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน ธาตุอาหารในกลุ่มพืชนี้พืชต้องการในปริมาณน้อย และมักจะมีอยู่ในดินเพียงพอต่อความต้องการของพืชแล้ว

ดัง นั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การใช้ปุ๋ยคือ การที่มนุษย์พยายามเพิ่มเติมธาตุอาหาร ให้แก่พืชนอก เหนือจากที่พืชได้รับอยู่แล้วโดยธรรมชาติ

ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ขึ้ค้างคาว กระดูกป่น และเลือดแห้ง เป็นต้น
ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น จากหิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หรือจากการสังเคราะห์ขึ้น เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต หินฟอสเฟตบด หรือปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป
แม้ ว่าปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ก็ตาม แต่ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทดแทนปุ๋ยอินทรีย์ได้ทั้งหมด เพราะปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้โปร่งและร่วน ซุยได้

นอก จากนั้นปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่มักจะไม่มีธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมครบทุกธาตุเหมือนปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยเคมีทั่ว ๆ ไป จะเกี่ยวข้องกับธาตุอาหารอยู่ 3 ธาตุ คือ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรตัสเซียม ซึ่งทั้ง 3 ธาตุนี้ ก็คือธาตุปุ๋ยนั้นเอง จึงอาจแบ่งปุ๋ยเคมีออกตามจำนวนธาตุที่มีอยู่ในปุ๋ยได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยผสม

ปุ๋ยเดี่ยว คือ ปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยอยู่เพียงธาตุเดียว เช่น ยูเรีย มีไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว หรือโปรตัสเซียมคลอไรด์ มีโปรตัสเซียมอยู่เพียงธาตุเดียว เป็นต้น

ปุ๋ยผสม จะมีธาตุปุ๋ยอยู่ 2 หรือ 3 ธาตุ เช่ย ปุ๋ยสูตร 16 - 20 - 20 มีธาตุไนโตรเจน และธาตุฟอสฟอรัสเพียง 2 ธาตุ ส่วนปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 จะมีธาตุ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรตัสเซียม ครบ 3 ธาตุเป็นต้น

บนกระสอบหรือภาชนะซึ่งบรรจุปุ๋ยเคมีนั้นโดยปกติ จะมีตัวเลขอยู่ 3 จำนวน แต่ละจำนวนจะมีขีดคั่นกลาง เช่น 46 - 0 - 0, 16 - 20 - 0 หรือ 15 - 15 - 15 เป็นต้น ตัวเลขที่อยู่หน้าสุดนั้นเป็นตัวเลขแสดงเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุไนโตรเจน ตัวเลขกลางเป็นเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุฟอสฟอรัส และตัวเลขตัวหลังเป็นเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุโปตัสเซียม โดยน้ำหนัก ตัวเลขทั้ง 3 จำนวนนี้ เรียกว่า “สูตรปุ๋ย"

ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประกอบด้วย
เนื้อธาตุไนโตรเจน 13 กก.
เนื้อธาตุฟอสฟอรัส 13 กก.
เนื้อธาตุโปตัสเซียม 21 กก.

ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประกอบด้วย
เนื้อธาตุไนโตรเจน 46 กก.
เนื้อธาตุฟอสฟอรัส 0 กก.
เนื้อธาตุโปตัสเซียม 0 กก.

ดัง นั้น คุณค่าของปุ๋ยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อธาตุอาหารที่มีใน ปุ๋ยนั้น และปุ๋ยที่มีสูตรเหมือนกันก็ควรจะมีคุณค่าเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นคนละชื้อหรือคนละตราก็ตาม เช่น ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ไม่ว่าจะเป็นตราใดจะให้ธาตุอาหารพืชเท่ากัน จึงควรเลือกซื้อตราที่ราคาถูกที่สุด ยกเว้นปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าว น้ำขังซึ่งไม่สามารถใช้หลักการนี้ได้

ปุ๋ยที่ใช้สำหรับนาข้าวน้ำขัง หรือที่เรียกว่า "ปุ๋ยนา" นั้นเป็นปุ๋ยที่มีคุณสมบัติพิเศษและจะต้องมีข้อความบนกระสอบปุ๋ยว่า "ถ้าใช้เป็นปุ๋ยข้าวแนะนำให้ใช้ในนาดินเหนียว" หรือ "ถ้าใช้เป็นปุ๋ยข้าวแนะนำให้ใช้ในนาดินทราย" จึงจะเลือกซื้อมาใช้ในนาข้าวได้ ปุ๋ยที่ไม่มีข้อความดังกล่าวแม้จะมีสูตรเหมือนกันก็ไม่ควรนำนาใช้ในนาข้าว

สูตรปุ๋ยนั้นถ้านำมาทอนค่าให้เป็นเลขน้อย ๆ ก็จะได้ตัวเลขชุดหนึ่งเรียกว่า "อัตราส่วนปุ๋ย" หรือ "เรโชปุ๋ย" เช่น สูตร 16 - 16 - 8 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 2 ต่อ 2 ต่อ 1 (2 : 2 : 1) หรือ 15 - 15 - 15 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 1 : 1 : 1 หรือ สูตร 16 - 16 - 16 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 1 : 1 : 1 เช่นกัน
ดังนั้น ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนปุ๋ยเหมือนกันจึงสามารถใช้แทนกันได้ แต่ปริมาณการใช้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อธาตุในปุ๋ยนั้น

ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนปุ๋ยเหมือนกันจะสามารถนำมาเปรียบเทียบราคากัน ได้ว่าปุ๋ยสูตรใดถูกหรือแพงกว่ากัน เช่น ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ซึ่งมีอัตราส่วนปุ๋ย 1: 1 : 1 ราคาตันละ 6,300 บาท และปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 14 ซึ่งมีอัตราส่วนปุ๋ย 1: 1 : 1 เช่นเดียวกันแต่ราคาตันละ 6,100 บาท สามารถเทียบราคาได้ว่าควรจะเลือกซื้อปุ๋ยสูตรใด

ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุโดยเฉลี่ย = ราคาปุ๋ย 100 กก. / เนื้อธาตุทั้งหมด

ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 , ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุ = 630 / 45 = 14 บาท

ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 14 , ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุ = 610 / 42 = 14.5 บาท

แสดงว่าในการแสดงกรณีนี้เราควรเลือกซื้อปุ๋ยสูตร 15 - 15 – 15

ปุ๋ยยูเรีย 46 - 0 - 0 ราคาตันละ 4,600 บาท และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ราคาตันละ 2,800 บาท สามารถเทียบราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุได้ดังนี้

ปุ๋ยยูเรีย ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุได้ดังนี้ = 460 / 46 = 10 บาท

แอมโมเนียมซัลเฟต ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุ = 280 / 21 = 13.3 บาท

ดังนั้น ในกรณีนี้เราควรเลือกซื้อยูเรีย

ใน การใช้ปุ๋ยกับพืชแต่ละชนิดให้ถูกต้องนั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่างได้แก่ ชนิดพืช ชนิดดิน เวลาในการใช้ปุ๋ยและวิธีการใช้ปุ๋ย พืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารแต่ละธาตุมากน้อยต่างกันไป บางชนิดต้องการธาตุไนโตรเจนมาก บางชนิดต้องการธาตุโปตัสเซียมมาก หรือในพืชชนิดเดียวกันแต่ต่างเวลาก็อาจต้องการธาตุอาหารต่าง ๆ มากน้อยต่างกัน เช่น ในช่วงที่พืชสร้างใบ จะต้องการธาตุไนโตรเจนมาก แต่ในช่วงสร้างผลจะต้องการธาตุโปตัสเวียมมาก เป็นต้น ดินแต่ละชนิดก็มีปริมาณธาตุแตกต่างกัน ดินบางชนิดอาจมีธาตุโปตัสเซียมสูง ส่วนดินทรายมักจะมีโปตัสเซียมน้อย เป็นต้น

วิธีการใช้ปุ๋ยก็มีหลายวิธี เช่น วิธีหว่าน วิธีโรยเป็นแถว หยอดเป็นหลุม เป็นต้น แต่ละวิธีก็มีประสิทธิภาพและความสะดวกไม่เท่ากัน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเพื่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ

1. ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร

2. ใช้ปุ๋ยให้ถูกอัตรา

3. ใช้ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลา

4. ใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธี

เกษตรกรจึงควรดำเนินการให้ถูกต้องตามคำแนะนำการใช้ปุ๋ย สำหรับพืชแต่ละชนิด ซึ่งนักวิชาการได้ให้ไว้

พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีช่วง พี.เอช. ต่างกัน แต่พืชทั่ว ๆ ไปจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วง พ.เอช. 6.0 - 7.0 ช่วง พี.เอช. ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแสดงไว้ในตารางที่ ช่วง พี.เอช. ของดิน ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช