ปูแดง,ปูแดง168,ปูแดงไคโตซาน,ปุ๋ยปูแดง,ไคโตซาน,ไคโตซานพืช,ไคโตซานสัตว์,อินทรีย์ปูแดง,สมุนไพรปูแดง,ผงชูรสปูแดง,Poodang,Kitozan,สารไคโตซาน,ตัวแทนจำหน่ายปูแดง,เกษตรปลอดสารพิษ,เกษตรชีวภาพ,ธุรกิจเกษตร,พืชโตไว,เพิ่มผลผลิต,ป้องกันโรค,ป้องกันแมลง,สารปรังปรุงดิน,ชาวสวนไร่นา,ลดปุ๋ย,โอกาสทางธุรกิจ,mlm,ขายตรง,รายได้เสริม,รายได้พิเศษ,ธุรกิจเครือข่าย โทรปรึกษาฟรี 083-0340025
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
การปลูกปตงโม และการดูแลรักษา
ศัตรูร้ายของแตงโม
ศัตรูร้ายของแตงโม |
หมวด: บทความ |
แตงโม Citrullus lanatus (Thub.) Matsum. & Nakai เป็นผลไม้เมืองร้อน มีชื่อเรียกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภูมิภาคนั้น เช่น ภาคอีสาน เรียก บักโม, ภาคเหนือ เรียก บะเต้า, ตรัง เรียก แตงจีน ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีป แอฟริกา แถบทะเลทรายคาลาฮารี เข้าสู่อเมริกาโดยชนผิวดำผู้ใช้แรงงานในไร่ จากนั้นก็ได้แพร่ขยายไปสู่ทวีปยุโรปและเอเชีย เรื่อยมาจนปัจจุบัน แตงโมเป็นไม้เถาสกุลเดียวกับแตงกวา แคนตาลูปและฟัก ลำต้นเป็นเถาเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ใบมีลักษณะเว้าลึก 3-4 หยัก ก้านใบยาว ทั้งเถาและใบมีขนอ่อนปกคลุมผลแตงโมมีทั้งแบบกลม กลมรี และทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 15-40 ซม. เปลือกแข็ง สีเขียว สีเขียวเข้ม และสีเหลือง บ้างก็มีลวดลายสีขาวเป็นแถบยาวจากขั้วถึงปลายผล รสราติที่เด่น หวานกรอบ และฉ่ำน้ำ ในเนื้อมีเมล็ดสีดำขนาดเล็กแทรกอยู่บริเวณใจกลางผล ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มพันธุ์ใหญ่ ๆ ตามลักษณะของผลและเมล็ด ดังนี้ 1. แตงโมพันธุ์ธรรมดา มักจะเป็นพันธุ์จากต่างประเทศมีรสชาติหวานจัดและขนาดเมล็ดเล็ก เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี เป็นต้น 2. แตงโมพันธุ์ไม่มีเมล็ด เป็นพันธุ์ลูกผสม ( F1) ที่ปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นมาเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ เช่น พันธุ์แบล็กบอล ( Black Ball ) ที่มีเปลือกสีเขียวเข้ม ผลกลมราวกับลูกบาล ไม่มีเมล็ดแก่มีแต่เมล็ดอ่อนสีขาว และ แตงโมผลสี่เหลี่ยม ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงผลแตงโมให้โตในกล่องสีเหลี่ยม เพื่อสะดวกในการขนส่ง 3. แตงโมพันธุ์กินเมล็ด ปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อเพาะปลูกเอาเมล็ดมาคั่วไว้กินเล่น แตงโมพันธุ์กินเมล็ดเป็นแตงโมที่มีเนื้อน้อย ภายในผลเต็มไปด้วยเมล็ดขนาดใหญ่ โรคที่สำคัญของแตงโมที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราในดินหนีไม่พ้น “ โรคเถาเหี่ยว” ซึ่งเกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม แตงโมที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการให้เห็น คือ สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยว บริเวณโคนเถาที่ใกล้กับผิวดิน จะแตกตามยาวและมีน้ำเมือกซึมออกมา เมื่อผ่าไส้กลางเถาดูจะเห็นภายในเป็นสีน้ำตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมกำลังออกดอก แต่หากมีการปลูกซ้ำที่เดิมโรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสริมนั้น 1. อุณหภูมิ : เชื้อราชนิดนี้เจริญและเข้าทำลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24 - 27 องศาเซลเซียส 2. สภาพภูมิอากาศ : ขณะแตงกำลังเจริญเติบโตมีฝนตกติดต่อกันยาวนาน 3. สภาพทั่วไปของดิน : มีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง แต่มีธาตุฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม อยู่ต่ำ หรือดินเป็นกรดจัด สำหรับการป้องกันและกำจัดเชื้อราดังกล่าว คุณอภิเชษฐ์ นักส่งเสริมการตลาดของชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้แนะให้เกษตรกรในพื้นที่ อ. กาญจนดิษฐ์ ที่ปลูกแตงโม และมีปัญหาแตงโมเถาเหี่ยวแล้วต้นตายในที่สุด หันมาทดลองใช้เชื้อไตรโครเดอร์ม่า Trichoderma harzianum โดยให้หว่านร่วมกับปุ๋ยคอกในอัตรา เชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก.ต่อปุ๋ยคอก 50 กก. หว่านรอบทรงพุ่ม ประมาณ 300 กรัม/ต้น หรือกรณีรองก้นหลุมก่อนปลูกต้นกล้า 200 – 250 กรัม/หลุม หลังจากทดลองให้เกษตรกรใช้ประมาณ 1 สัปดาห์พบว่าอาการระบาดของเชื้อเริ่มทรงตัวหยุดการระบาด เริ่มแตกแขนง ผลิใบอ่อนให้เห็นในสัปดาห์ที่ 2 จากนั้นให้ฉีดพ่นปุ๋ยเกร็ดสูตร 30 – 20 – 10 อัตรา 50 – 100 ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทั้งแปลงในตอนเช้า เนื่องจากต้นพืชจะได้นำไปใช้ได้ทันที หากต้องการให้ได้ประสิทธิเพิ่มมากขึ้นควรปรับสภาพน้ำด้วย ซิลิซิค แอซิค และเพิ่มสารจับใบ ( ม้อยเจอร์แพล้น )ทุกครั้งที่มีการฉีดพ่นยาหรือฮอร์โมน สำหรับกรณีปลูกซ้ำที่เดิมให้ใช้วิธีการหมักขยาย โดยให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล + น้ำ 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ประมาณ 8 -10 ชั่วโมงก่อนผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงแบบปูพรมก่อนหลังปลูกรุ่นใหม่ เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อดังกล่าวในเบื้องต้น |
ระวัง ป้องกันโรคพืชในฤดูหนาว
การป้องกันโรคพืชในฤดูหนาว
โดย : webmaster13 ธ.ค.
ฤดูหนาว….ดูแลพืชผักอย่างไรให้ปลอดโรค
ปัจจุบัน การปลูกพืชฤดูหนาวของประเทศไทย โดยเฉพาะทางเหนือมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนไทยมีพืชฤดูหนาวทั้งพันธุ์ไทยและพันธุ์ต่างประเทศรับประทานกันตลอด ทั้งปี นอกจากฤดูหนาวจะทำให้ผลผลิตพืช ผัก และไม้ดอก มีคุณภาพดีแล้ว แต่ปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรต้องเฝ้าระวังก็คือ โรคพืชในฤดูหนาว ที่จะส่งผลกระทบด้านราคาความเสียหายของผลผลิต ให้กับเกษตรกรทั่วถึงทุกพื้นที่ทั้งพืชพื้นเมืองและพืชเศรษฐกิจ ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชมาแนะนำเทคนิคการสังเกต การป้องกัน การกำจัดโรคพืชในฤดูหนาวนี้ เพื่อเตรียมตัวรับมือป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากปีหนึ่ง ๆ เกษตรกรที่ปลูกพืชผักจะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การพยากรณ์และการป้องกันโรคพืชที่จะเกิดขึ้นในอากาศหนาวที่เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคมที่ผ่านมา อุณหภูมิจะเริ่มลดลงทำให้อากาศเย็นขึ้น โดย เฉลี่ยอากาศหนาวในประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถแบ่งอุณหภูมิออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ ภาคเหนือจะมีอุณหภูมิค่อนข้างหนาว ส่วนภาคกลางอุณหภูมิค่อนข้างเย็น
ภาคเหนือในช่วงที่อากาศเย็นลงในฤดูหนาวนั้น สิ่งที่จะได้รับผลกระทบกับอากาศเย็นก็คือพืช ผัก และไม้ดอก ที่จะมีโอกาสเกิดโรค ในผักจะมีโรคราน้ำค้าง ส่วนไม้ดอกก็จะมีปัญหาเรื่องราสนิม อาทิ เบญจมาศตัดดอก และราแป้งในกุหลาบซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะใน อ.พบพระ จ.ตาก ส่วนภาคกลาง ในฤดูหนาวพืชที่จะได้รับผลกระทบกับอากาศเย็นจะพบกับการเกิดโรคราน้ำค้าง โดยพืชที่ประสบกับโรคนี้ได้แก่ พืชจำพวกแตง พืชในตระกูลผักกะหล่ำ องุ่น และถ้าอากาศค่อนข้างเย็นข้าวโพดหวานก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้างเช่นกัน นอกจากนี้กลุ่มนาข้าวก็พบอาการของโรคเน่าคอรวง ที่พบในช่วงที่ความชื้นยังคงมีอยู่ในขณะที่ข้าวออกรวง และช่วงที่ข้าวใกล้แก่ก็อาจมีปัญหาเรื่องเมล็ดด่างได้ด้วย
ดร.ศรีสุข พูนผลกุล นักวิชาการโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ยกตัวอย่างโรคราในพืชต่าง ๆ ให้ฟังว่า
โรคราแป้งในกุหลาบ นั้นมีลักษณะอาการคือ มีเชื้อราสีขาวลักษณะคล้ายแป้ง เกิดปกคลุมผิวใบ และอาจขยายลุกลามปกคลุมกิ่งและลำต้น ทำให้ใบเหลือง ต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลใบและกิ่งแห้ง ส่วนการป้องกันทำโดย 1.เมื่อเริ่มพบอาการของโรค ให้พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโนแคป เบโนมิล ไตรฟลอรีน หรือพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทกำมะถันผงโดยเป็นชนิดละลายน้ำได้เพื่อ ฆ่าเชื้อ แต่กำมะถันมีข้อจำกัด เนื่องจากใช้แล้วจะทำให้ใบร่วง เมื่อแตกใบใหม่จะไม่มีโรค ดังนั้นพืชจำพวกใบนิ่มไม่ควรใช้ ถ้าเป็นในผักก็ใช้ได้ในบางชนิดเท่านั้น
โรคราสนิมของเบญจมาศตัดดอก มีลักษณะอาการคือ ด้านบนใบเป็นจุดสีเหลืองอ่อน เมื่อพลิกดูด้านหลังใบจะเป็นตุ่มแผลนูน มีผงสีขาวอมเหลืองและสีเทา ใบมีลักษณะพองหรือบิดเบี้ยว ถ้าเป็นกับดอกตูมจะทำให้กลีบเลี้ยงและกลีบดอกแห้ง ไม่คลี่บาน ระบาดรุนแรงในฤดูหนาว การป้อง กันและกำจัดคือ 1. แช่ต้นพันธุ์ก่อนปลูกในสาร triadimenol 25% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร 20 ลิตร หรือ hexaconazole 15% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร และพ่นสารดังกล่าวให้ทั่วต้นทุก 7 วันหลังจากปลูก
สุดท้าย ดร.ศรีสุข ได้ฝากถึงเกษตรกรว่า สาเหตุของโรคพืชในฤดูต่าง ๆ นั้น หากป้องกันไว้ก่อนก็จะทำให้ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นลดน้อยลงได้ เกษตรกรควรกระจายความเสี่ยงด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนหลากหลายชนิดเพื่อลดความ เสี่ยงของการเกิดโรค และปัญหาด้านราคาไปพร้อมกัน นอกจากนั้นเกษตรกรควรจะลดการใช้ปุ๋ยยูเรียโดยหันมาใช้สูตรเสมอ ซึ่งเป็นสูตรที่ดีและเหมาะสมต่อการปลูกพืชผัก เนื่องจากการใช้ยูเรียมากไปจะส่งผลให้พืชอ่อนแอแล้วมีอัตราการเกิดโรคได้ ง่ายขึ้น
สำหรับเกษตรกรที่สนใจข้อมูลด้านโรคพืชชนิดต่าง ๆ เพิ่มเติม หรือต้องการส่งตัวอย่างพืชให้ตรวจวิเคราะห์สามารถติดต่อได้ที่ คลินิกพืช กรมวิชาการเกษตร เบอร์โทร. 0-2579-9581-5.
เพลี้ยไฟ โรคเต่าแตง โรคราน้ำค้าง ในแตงโม
เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมาก ตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดำ มีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม มีผลทำให้ใบแตงโมไม่ขยาย ยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้นชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่าโรคยอดตั้ง บางแห่งก็เรียก โรคไอ้โต้ง เพลี้ยไฟจะบินไปเป็นฝูง มีลักษณะเล็กละเอียดคล้ายฝุ่น สภาพฤดูแล้ง ความชื้นในอากาศต่ำลมจะ ช่วยพัดพาเพลี้ยไฟให้เคลื่อนที่เข้าทำลายพืชผลในไร่ได้รวดเร็วขึ้น ในพืชผักที่ปลูกด้วยกัน เช่น ฟักทอง แตงโม แฟง ฟัก ในไร่ของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟทำลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถต้านทานเพลี้ยไฟได้ และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยา เพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดสารเคมี การป้องกัน และกำจัดใช้สารเคมีหลายชนิด เช่น แลนเนท เมทไธโอคาร์บ หรืออาจปลูกพืชเป็นกันชน เช่น ปลูกมะระจีนล้อมที่ไว้สัก 2 ชั้น แล้วภายในจึงปลูกแตงโม เพราะมะระขึ้นค้างจะช่วยปะทะการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟให้ลดลงได้ และมะระที่โดนเพลี้ยไฟเข้าทำลายจะต้านทานได้ และเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
โรค เต่าแตง
เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ที่ชอบกัดกินใบแตงขณะยังอ่อนอยู่ ลักษณะตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปีกสีเหลืองปนส้ม จะกัดกินใบแตงขาดเป็นวง ๆ ตามปกติเต่าแตงลงกินใบอ่อนต้นแตงโมหรือพืชพวก ฟัก แฟง แตงกว่า อื่นๆมักจะไม่ทำความเสียหายให้กับพืชมากนัก แต่จะเป็นพาหะนำเชื้อโรคเถาเxxx่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสู่แตงโมของเรา จึงต้องป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมีเซวิน 85 ในอัตรา 20-30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดในระยะทอดยอด ฉีดคลุมไว้ก่อนสัปดาห์ละครั้งโดยไม่ต้องรอให้แมลงเต่าแตงลงมากินเสียก่อน แล้วค่อยฉีดในภายหลังซึ่งจะทำให้ป้องกันโรคเถาเxxx่ยวของแตงโมไม่ทัน
โรคราน้ำค้าง
ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้นเมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดี คือ แคปแทน ไซเน็บ มาเน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ 1 กรัม ผสมน้ำ 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)
โรคของแตงโม โรคที่เจอมากในหารปลูกแตงโม เพลี้ยไฟ