วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ชีวิตของสัตว์เดรัจฉาน-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

ชีวิตของสัตว์เดรัจฉาน-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

ชีวิตของมนุษย์-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

ชีวิตของมนุษย์-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

ภาวนา..ทางมาแห่งคุณสมบัติ ::: DMC Dhamma Media Channel

ภาวนา..ทางมาแห่งคุณสมบัติ ::: DMC Dhamma Media Channel

ภัยของวัฏสงสาร-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

ภัยของวัฏสงสาร-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

การทำสมาธิภาวนาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ::: DMC Dhamma Media Channel

การทำสมาธิภาวนาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ::: DMC Dhamma Media Channel

กายมนุษย์ทำกรรมดีได้มากที่สุด-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

กายมนุษย์ทำกรรมดีได้มากที่สุด-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

ออกแบบชีวิตด้วยภาวนา ::: DMC Dhamma Media Channel

ออกแบบชีวิตด้วยภาวนา ::: DMC Dhamma Media Channel

พบความสุขที่แท้จริงด้วยสมาธิ ::: DMC Dhamma Media Channel

พบความสุขที่แท้จริงด้วยสมาธิ ::: DMC Dhamma Media Channel

การกำจัดกิเลสด้วยบุญ ::: DMC Dhamma Media Channel

การกำจัดกิเลสด้วยบุญ ::: DMC Dhamma Media Channel

เราคือ..ผู้ออกแบบชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

เราคือ..ผู้ออกแบบชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

การส่งผลของกรรมใกล้ตาย-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

การส่งผลของกรรมใกล้ตาย-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

การทำหน้าที่กัลยาณมิตร

เมล็ดพันธ์แห่งกัลยาณมิตร

เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)

วันเสาร์ที่ ๑๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

--------------------------------------------

ในการสร้างบารมี เราต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ทะลุเป้า เราก็ต้องทำให้ได้ ถ้าตามลำพังเรามีกำลังไม่พอ เราก็ใช้ดวงปัญญาและกำลังใจไปทำหน้าที่ผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตร ไปเชิญชวนผู้มีบุญ ซึ่งเป็นเจ้าของบุญ กำลังรอคอยเราอยู่เยอะแยะในทุกสถาน พอเจอหน้า ถ้าเป็นคน แล้วก็ให้ชวนทำบุญเลย ซึ่งก็จะมีบางคนชวนปุ๊บก็ทำปั๊บ บางคนขอคิดดูก่อน บางคนก็มีปฏิกิริยา ให้เราเพิ่มขันติบารมี อย่างนี้มี แต่สิ่งที่เราได้หว่านเมล็ดพืชแห่งกัลยาณมิตรก็จะไปเจริญเติบโตในดวงใจเขา รอวันที่งอกเงยมาเป็นต้น สักวันหนึ่งก็จะต้องมีใบ มีดอก มีผล แล้วเขาจะกลับมาระลึกนึกถึงเรา ที่ไปทำหน้าที่เป็นผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตรจ้ะ


การทำหน้าที่กัลยาณมิตร

หลักสำคัญที่สุดของการทำหน้าที่กัลยาณมิตร คือการปฏิบัติธรรม


ปฏิบัติธรรมเพื่อสั่งสมบุญกุศลไว้ในตัวมาก ๆ แล้วตัวเราจะมีพลังใจที่เข้มแข็ง เบิกบาน มีความสุข กระแสแห่งความสุขใจของเราจากการประพฤติปฏิบัติธรรม จะแผ่ขยายออกไปรอบตัว เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เราสามารถสัมผัสได้ด้วยใจ

บุคคลใดก็ตามที่เข้าใกล้เรา เขาจะมีความรู้สึกเย็นใจ สุขใจ อบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูก เหมือนคนเดินฝ่าเปลวแดดร้อนแรงมา แล้วเดินไปเจอต้นไม้ใหญ่ ได้นั่งพักใต้ร่มไม้นั้น ย่อมมีความเย็นกาย เย็นใจฉะนั้น

และการที่พวกเราออกไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น ไม่ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในต่างจังหวัด หรือในกรุงเทพก็ดี อย่าคิดว่าเราทำหน้าที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย ในการพบปะหมู่ญาติเพื่อนร่วมโลกของเรา ที่จะเชิญชวนให้เขามาสร้างบุญร่วมกับเรา อย่าลืมว่าหลวงพ่อไปกับลูก ๆ ด้วย ให้ระลึกเสมอว่า เราทุก ๆ คนอยู่ในศูนย์กลางธรรมกายของหลวงพ่อ และคุณยายท่านเสมอ ให้ตรึกใจไว้ที่ศูนย์กลางกายทุกครั้งที่ออกไปทำหน้าที่ ณ ตำแหน่งตรงนี้เราจะเปิดใจพบกับหลวงพ่อ ถ้าเราทำได้อย่างนี้การทำหน้าที่กัลยาณมิตรของเราก็จะสำเร็จอย่างสมบูรณ์

(พระราชภาวนาวิสุทธิ์)

3 สิงหาคม 2528

ใช้ ยาอะไรอยู่? ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ " Ya & You " ได้แล้ว !

ใช้ ยาอะไรอยู่? ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ " Ya & You " ได้แล้ว !

www.yaandyou.net

ใช้ ยาอะไรกันอยู่ ตรวจสอบข้อมูลยา และวิธีใช้ที่ถูกต้องผ่านเว็บไซต์ Ya & You ได้แล้ว

เปิดใช้งานแล้วเว็บไซต์ "Ya&You" ให้ผู้ป่วยตรวจสอบ

ยาในมือ เพื่อการใช้ยาที่ถูกต้อง-ลดผลข้างเคียงจากยา

โดยสามารถสืบค้นได้ทั้งชื่อยาสามัญ และการค้า รวมถึงวิธีใช้

ผลข้างเคียง ระบุมีข้อมูลยาในไทยแล้ว 17,000 เลขทะเบียนยา

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

(มูลนิธิ วพย.) แถลงข่าวเปิดตัวเว็บไซต์ " ยา กับ คุณ"

( Ya & You ) www.yaandyou.net ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 51 หลังจากได้ลงนามความร่วมมือไปก่อนหน้านี้ โดยมี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีเป็นประธานในงาน

ผศ.ภญ.ดร.ภูรี อนันตโชติ กรรมการมูลนิธิเพื่อการวิจัย และพัฒนาระบบยา กล่าวกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ภายในงานแถลงข่าวว่า พัฒนาเว็บไซต์นี้ขึ้นมา เนื่องจากไม่มีเว็บไซต์ข้อมูลยาที่เป็นภาษาไทย หรือมีก็เป็นข้อมูลที่น้อยมาก ขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับยาเป็นภาษาอังกฤษมีค่อนข้างมาก ทั้งนี้เมื่อไปพบแพทย์หรือเภสัชกรเราใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่การกินยาต้องอยู่กับเราอีกนาน จึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลเ กี่ยวกับยา

" หลักๆ คือได้ยามาแล้วต้องรู้อะไรบ้าง ต้องกินอย่างไร ถ้ามียาอยู่ในมือแล้วจะใช้อย่างไรให้เหมาะสม และข้อมูลจากเว็บไซต์จะช่วยเตรียมพร้อมก่อนไปพบแพทย์ว่าต้องถามอะไรกับแพทย์ บ้าง เพราะเรามีช่วงเวลาสั้นๆ ที่จะได้คุยกับแพทย์จึงต้องใช้ช่วงเวลานั้นให้เต็มที่ ทั้งนี้มีงานวิจัยของสหรัฐฯ ที่ระบุว่า ในสหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้งานถึง 30% จากค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคทั้งหมด" ผศ.ภญ.ดร.ภูรีกล่าว

ทั้งนี้ในความร่วมมือทางมูลนิธิ วพย.เป็นฝ่ายเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับยา ส่วนทางเนคเทคเป็นฝ่ายพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที โดยข้อมูลภายในเว็บไซต์ระบุเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยา ชื่อยาสามัญ ชื่อยาทางการค้า วิธีการใช้ โดยเป็นยาที่มีใช้เฉพาะในเมืองไทย และส่วนใหญ่เป็นยาเม็ด ส่วนยาสามัญประจำบ้าน อย่างยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดงนั้นไม่ได้ระบุไว้

ผศ.ภญ.ดร.ภูรี ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีข้อมูลชื่อสามัญของยาเดี่ยว 600 รายชื่อแล้ว นับเป็น 60-70% ของยาทั้งหมด และหากรวมรูปแบบยาประเภทยาน้ำ ยาเม็ดนั้นมีทั้งหมด 900 รายชื่อ ทั้งนี้เป็นข้อมูลยาทั้งหมด 17,000 เลขทะเบียนยา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีข้อมูลยาทั้งหมด 30,000 เลขทะเบียนยา

" อนาคตจะเพิ่มเติมในส่วนของรูปภาพ เพื่อให้ผู้ใช้ได้สืบค้นกรณีไม่ทราบชื่อยาแต่มีตัวอย่างยาด้วย รวมถึงการเพิ่มข้อมูลในส่วนของยาหยอด ทายาและยาน้ำ ส่วนยาฉีดมองว่า เป็นเรื่องของโรงพยาบาลจึงไม่ใส่ข้อมูลในส่วนนี้ ยกเว้น ข้อมูลเกี่ยวกับอินซูลิน ยาฉีดรักษาไตและยาฉีดรักษามะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยทราบว่าใช้ยาแล้วจะเกิดผลข้างเคียงอย่างไร " ผศ.ภญ.ดร.ภูรี กล่าวและย้ำว่าวัตถุประสงค์หลักของเว็บไซต์ก็เพื่อให้ผู้ใช้ยาสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับยาที่ใช้ ไม่ใช่ให้ผู้ป่วยสืบค้นวิธีรักษาด้วยตัวเอง

ด้าน ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยคลังอนุพันธุ์ความรู้ เนคเทค กล่าวกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า เว็บไซต์นี้เกิดขึ้นจากปัญหาที่ ผู้ป่วยได้ยามาแล้วใช้ไม่ถูกต้อง และเห็นว่าเป็นประโยชน์ตรงๆ และเป็นเรื่องพื้นๆ ซึ่งโดยปกติข้อมูลยาภาษาอังกฤษมีเยอะมากแต่ไม่มีข้อมูลที่เป็นภาษาไทย ทางเนคเทคก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีด้านไอทีสำหรับสืบค้นข้อมูลได้ตามต้องการ โดยใช้โอเพ่นซอร์ส ( Open Source) สำหรับสร้างเว็บไซต์

ทั้งนี้เนคเทคและมูลนิธิ วพย.มีความร่วมมือกันตั้งแต่ต้นปีก่อนที่จะลงนามความร่วมมือในการพัฒนา เว็บไซต์นี้ขึ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 10 เดือน จึงพัฒนามาถึงขั้นใช้งานได้จริง และ ดร.จุฬารัตน์ยังระบุด้วยว่า เนคเทคยังมีความร่วมมือในการพัฒนาเว็บไซต์ฐานข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ อาทิ e-museum ที่ร่วมมือกับสภากาชาดไทยพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือน e-Health ที่รวมกับโรงพยาบาลรามาธิบดีนำข้อมูลจากโครงการไซส์-ไทยแลนด์ ( Size-Thailand) ซึ่งรวบรวมข้อมูลรูปร่างกับข้อมูลทางด้านการแพทย์ เป็นต้น

ชีวิตพอเพียงของมหาเศรษฐีอันดับสองของโลก

ชีวิตพอเพียงของมหาเศรษฐีอันดับสองของโลก
: วอร์เรน บัพเฟตต์ (Warren Buffet)

มีรายการสัมภาษณ์หนึ่งชั่วโมงของสถานีโทรทัศน์ CNBC สัมภาษณ์ วอร์เรน บัพเฟตต์ มหาเศรษฐีอันดับสองของโลก (รองจากบิล เกตส์) ซึ่งบริจาคเงินให้การกุศลถึง 31 , 000 ล้านดอลล่าร์
(เป็นเงินไทยก็ราวๆ 1,000,000,000,000 อ่านว่า 1 ล้าน ล้านบาท โอ้แม่เจ้า)

ต่อไปนี้คือแง่มุมบางส่วนที่น่าสนใจยิ่งจากชีวิตของเขา :

1) เขาเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ขวบ และปัจจุบันบอกว่ารู้สึกเสียใจที่เริ่มช้าไป!

2) เขาซื้อไร่เล็กๆ เมื่ออายุ 14 โดยใช้เงินเก็บจากการส่งหนังสือพิมพ์

3) เขายังอาศัยอยู่ในบ้านเล็กหลังเดิมขนาด 3 ห้องนอน กลางเมืองโอมาฮา ที่ซื้อไว้หลังแต่งงานเมื่อ 50 ปีก่อน เขาบอกว่ามีทุกสิ่งที่ต้องการในบ้านหลังนี้ บ้านเขาไม่มีรั้วหรือกำแพงล้อม

4) เขาขับรถไปไหนมาไหนต้วยตนเอง ไม่มีคนขับรถหรือคนคุ้มกัน

5) เขาไม่เคยเดินทางด้วยเครื่องบินส่วนตัว แม้จะเป็นเจ้าของบริษัทขายเครื่องบินส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก

6) บริษัท เบิร์กไช แฮทะเวย์ ของเขามีบริษัทในเครือ 63 บริษัท เขาเขียนจดหมายถึงซีอีโอของบริษัทเหล่านี้เพียงปีละฉบับเดียว เพื่อให้เป้าหมายประจำปี เขาไม่เคยนัดประชุมหรือโทรคุยกับซีอีโอเหล่านี้เป็นประจำ

7) เขาให้กฎแก่ ซีอีโอ เพียงสองข้อ
กฎข้อ 1 อย่าทำให้เงินของผู้ถือหุ้นเสียหาย
กฎข้อ 2 อย่าลืมกฎข้อ 1

8 ) เขาไม่สมาคมกับพวกไฮโซ การพักผ่อนเมื่อกลับบ้าน คือทำข้าวโพดคั่วกินและดูโทรทัศน์

9) บิล เกตส์ คนที่รวยที่ สุดในโลก เพิ่งพบเขาเป็นครั้งแรกเมื่อห้าปีก่อน บิล เกตส์คิดว่าตนเองไม่มีอะไรเหมือนวอร์เรน บัพเฟตต์เลย จึงให้เวลานัดไว้เพียงครึ่งชั่วโมง แต่เมื่อบิล เกดส์ได้พบบัฟเฟตต์จริงๆ ปรากฏว่าคุยกันนานถึงสิบชั่วโมง และบิล เกตส์กลายเป็นผู้มีศรัทธาในตัววอร์เรน บัพเฟตต์

10) วอร์เรน บัพเฟตต์ ไม่ใช้มือถือ และไม่มีคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน

11) เขาแนะนำเยาวชนคนหนุ่มสาวว่า :

ที่สุดของชีวิต คือ มีปัจจัย ๔ อย่างเพียงพอนั่นเอง

มหาเศรษฐีหรือยาจก กินข้าวแล้วก็อิ่ม1มื้อ เท่ากัน
มหาเศรษฐีหรือยาจก มีเสื้อผ้ากี่ชุด ก็ใส่ได้ทีละชุด เท่ากัน
มหาเศรษฐีหรือยาจก มีบ้านหลังใหญ่แค่ไหน พื้นที่ที่ใช้จริงๆ ก็เหมือนกันคือ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว เหมือนกัน
มหาเศรษฐีหรือยาจก จะมียารักษาโรคดีแค่ไหน ยื้อชีวิตไปได้นานเพียงไร สุดท้ายก็ต้องตาย เหมือนกัน

กรรมให้ผลตามลำดับ-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

กรรมให้ผลตามลำดับ-วงจรชีวิต ::: DMC Dhamma Media Channel

อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล ::: DMC Dhamma Media Channel

อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล ::: DMC Dhamma Media Channel

บุญไม่มีขายอยากได้ต้องทำเอง ::: DMC Dhamma Media Channel

บุญไม่มีขายอยากได้ต้องทำเอง ::: DMC Dhamma Media Channel