ธาตุอาหารรอง ( Ca,S,Mg )
ธาตุแคลเซียม - CALCIUM
หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช
- มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้
-ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
-ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
-ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืช
-ช่วยเพิ่มการติดผล
- ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
-ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
- ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก
- มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
- มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
-เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
- เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซี่ยม
- ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่
- ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด
- ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) ทำให้ผลร่วง
- พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการเน่าที่ส่วนล่างผล,
- ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ, ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว, ในแอปเปิลจะมีรสขม,
- ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,
- ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่สมบูรณ์
- ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหารไม่ปกติ
- ในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซี่ยม
- ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
- เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก
- เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก
- เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช
- เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ
- ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ
- ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
- ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
-ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
-ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
-ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืช
-ช่วยเพิ่มการติดผล
- ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
-ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
- ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก
- มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
- มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
-เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
- เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซี่ยม
- ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่
- ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด
- ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) ทำให้ผลร่วง
- พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการเน่าที่ส่วนล่างผล,
- ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ, ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว, ในแอปเปิลจะมีรสขม,
- ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,
- ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่สมบูรณ์
- ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหารไม่ปกติ
- ในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซี่ยม
- ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
- เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก
- เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก
- เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช
- เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ
- ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ
- ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
- ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
ธาตุแมกนีเซียม – MAGNESIUM
ธาตุแมกนีเซียม มีความสำคัญต่อพืช คน และสัตว์ ร่างกายของคนต้องการธาตุแมกนีเซียมประมาณ 0.3-0.4 มิลิกรัมต่อวัน สัตว์เช่น วัว ควาย ต้องการสูงถึง 10 เท่า คือ ประมาณ 3-6 กรัมต่อวัน ถ้าคนขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อเป็นตะคริวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ในวัวถ้าขาดธาตุแมกนีเซียมจะเป็นโรคกระแตเวียน
หน้าที่สำคัญของธาตุแมกนีเซียมในพืช
- เป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์ หรือความเขียวในพืช ช่วยให้พืชปรุงอาหารได้ดีขึ้
- ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
- มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง
- มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการสุกการแก่ของผลผลิต
- ช่วยให้พืชเพิ่มการใช้ธาตุเหล็กมากยิ่งขึ้น
- เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยต่าง ๆ ของพืช เคลื่อนย้ายภายในพืชได้ดี
- ช่วยเสริมสร้างให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น
- ช่วยเสริมสร้างให้พืช มีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
- พืชอาหารสัตว์ ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียม จะเป็นสาเหตุของพืชอาหารสัตว์เป็นพิษ
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม
- จะทำให้ต้นเล็กแคระแกรน ใบเหลือง
- ในใบแก่จะมีสีซีดจาง ไม่เขียวสดใส และเมื่อแตกใบอ่อนก็จะมีสีซีดจางเช่นเดียวกัน และธาตุแมกนีเซียม สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้
- เมื่อใบแก่ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ก็จะขาดด้วย ใบจะเป็นสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสี น้ำตาลและตายไปในที่สุด
- ผลจะสุกแก่ช้ากว่าปกติ
- ในพืชตระกูลถั่วจะทำให้พืชไม่ค่อยจะลงฝัก และจะทำให้แบคทีเรียที่รากถั่ว ไม่จับธาตุไนโตรเจนไว้ได้ดีเท่า ที่ควร
- ในพืชอาหารสัตว์จะให้ผลผลิตต่ำ และทำให้พืชอาหารสัตว์เป็นพิษ
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแมกนีเซี่ยม
- ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
- ในดินที่มีปริมาณของธาตุแมกนีเซียมต่ำ
- ในดินที่มีธาตุแคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมมาก
- ในดินที่มีปริมาณของเกลือมาก เช่น พวกเกลือโซเดียม
- ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
- ในระยะที่พืชแตกใบอ่อน
- ในระยะที่พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนมาก
หน้าที่สำคัญของธาตุแมกนีเซียมในพืช
- เป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์ หรือความเขียวในพืช ช่วยให้พืชปรุงอาหารได้ดีขึ้
- ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
- มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง
- มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการสุกการแก่ของผลผลิต
- ช่วยให้พืชเพิ่มการใช้ธาตุเหล็กมากยิ่งขึ้น
- เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยต่าง ๆ ของพืช เคลื่อนย้ายภายในพืชได้ดี
- ช่วยเสริมสร้างให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น
- ช่วยเสริมสร้างให้พืช มีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
- พืชอาหารสัตว์ ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียม จะเป็นสาเหตุของพืชอาหารสัตว์เป็นพิษ
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม
- จะทำให้ต้นเล็กแคระแกรน ใบเหลือง
- ในใบแก่จะมีสีซีดจาง ไม่เขียวสดใส และเมื่อแตกใบอ่อนก็จะมีสีซีดจางเช่นเดียวกัน และธาตุแมกนีเซียม สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้
- เมื่อใบแก่ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ก็จะขาดด้วย ใบจะเป็นสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสี น้ำตาลและตายไปในที่สุด
- ผลจะสุกแก่ช้ากว่าปกติ
- ในพืชตระกูลถั่วจะทำให้พืชไม่ค่อยจะลงฝัก และจะทำให้แบคทีเรียที่รากถั่ว ไม่จับธาตุไนโตรเจนไว้ได้ดีเท่า ที่ควร
- ในพืชอาหารสัตว์จะให้ผลผลิตต่ำ และทำให้พืชอาหารสัตว์เป็นพิษ
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแมกนีเซี่ยม
- ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
- ในดินที่มีปริมาณของธาตุแมกนีเซียมต่ำ
- ในดินที่มีธาตุแคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมมาก
- ในดินที่มีปริมาณของเกลือมาก เช่น พวกเกลือโซเดียม
- ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
- ในระยะที่พืชแตกใบอ่อน
- ในระยะที่พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนมาก
การให้ปุ๋ยโพแทสเซียม ต้องให้ธาตุแมกนีเซียมควบคู่กันไป ถ้าให้ปุ๋ยโพแทสเซียมมากจะเป็นปัญหาการขาดธาตุแมกนีเซียมการให้ธาตุแคลเซียม ต้องให้ธาตุแมกนีเซียมควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน ถ้าธาตุแคลเซียมมาก อาจทำให้ขาดธาตุแมกนีเซียม
การให้ปุ๋ยไนโตรเจน ต้องให้ธาตุแมกนีเซียม และธาตุแคลเซียมควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน โดยเฉพาะพืชอาหารสัตว์ เช่น หญ้าเลี้ยงสัตว์ จะเกิดอาการเป็นพิษจากสารไนเตรท(Nitrate Poisoning) ดังนั้นเมื่อให้ปุ๋ยไนโตรเจนต้องให้ธาตุแมกนีเซียมและธาตุแคลเซียมควบคู่ไปด้วย
การให้ปุ๋ยไนโตรเจน ต้องให้ธาตุแมกนีเซียม และธาตุแคลเซียมควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน โดยเฉพาะพืชอาหารสัตว์ เช่น หญ้าเลี้ยงสัตว์ จะเกิดอาการเป็นพิษจากสารไนเตรท(Nitrate Poisoning) ดังนั้นเมื่อให้ปุ๋ยไนโตรเจนต้องให้ธาตุแมกนีเซียมและธาตุแคลเซียมควบคู่ไปด้วย
ธาตุกำมะถัน – SULPHUR
ธาตุกำมะถัน เป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในเชิงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการผลิตปุ๋ยเคมี จะต้องมี กำมะถันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ นอกจากนี้ธาตุกำมะถัน ยังมีความสำคัญ ต่อการเจริญเติบโตของพืช หลายชนิด และมีพืชหลายชนิดที่ต้องการธาตุกำมะถันมากเป็นพิเศษ เช่น กาแฟ ปาล์มน้ำมัน อ้อย พืช ตระกูลถั่วที่เป็นอาหารสัตว์ และพืชผักต่าง ๆ
หน้าที่สำคัญของธาตุกำมะถัน
- ธาตุกำมะถันเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน(Amino acids) พืชต้องการธาตุกำมะถันเพื่อสังเคราะห์กรดอะมิโนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ซีสตีน(Cystine) ซีสเตอีน(Cysteine) และเมทธิโอนีน(Methionine) ดังนั้นจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีน, กรดอะมิโนเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งคน และสัตว์ด้วย
- ธาตุกำมะถันจะช่วยในการควบคุม ชนิดและโครงสร้างของเม็ดสีคลอโรพลาสต์ ซึ่งภายในประกอบด้วยคลอโรฟีลล์เป็นแหล่งที่พบกำมะถันสะสมอยู่มาก เมื่อพืชขาดธาตุกำมะถันปริมาณของ
- ธาตุกำมะถันจะช่วยในการควบคุม ชนิดและโครงสร้างของเม็ดสีคลอโรพลาสต์ ซึ่งภายในประกอบด้วยคลอโรฟีลล์เป็นแหล่งที่พบกำมะถันสะสมอยู่มาก เมื่อพืชขาดธาตุกำมะถันปริมาณของ
คลอโรฟีลล์จะลดลงทำให้พืชมีสีเหลืองซีด
- ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชทนทานต่ออุณหภูมิที่เย็น และต้านทานต่อโรคพืชหลายชนิด
- ช่วยสนับสนุนการเกิดปมที่รากของพืชตระกูลถั่วและกระตุ้นการสร้างเมล็ด
- มีส่วนสำคัญในการเกิดน้ำมันพืชและสารระเหยให้หัวหอมและกระเทียม
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุกำมะถัน
- พืชจะแคระแกรนหยุดการเจริญเติบโต
- ใบอ่อนมีสีเขียวจางลง รวมทั้งเส้นใบจะมีสีจางลงด้วย แต่ในใบแก่จะยังคงมีสีเขียวเข้ม
- ถ้าพืชขาดธาตุกำมะถันมาก พืชจะพัฒนาการเจริญเติบโตได้ช้า
- ลำต้นพืชจะสั้นและแคบเข้า ใบยอดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
- ในพืชตระกูลถั่ว การตรึงธาตุไนโตรเจนที่ปมรากจะลดลงทั้งขนาดและจำนวนปม
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุกำมะถัน
- ในดินที่มีของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.0-6.0
- ในดินที่มีค่าอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1%อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งสำรองของธาตุกำมะถัน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์
- ผลจากการหักล้างถางพงป่ามาเป็นพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรจะทำให้ดินสูญเสียอินทรีย์วัตถุเร็วขึ้น
- การใช้ปุ๋ยสูตรที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง จะทำให้เกิดการขาดธาตุกำมะถัน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม
- ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชทนทานต่ออุณหภูมิที่เย็น และต้านทานต่อโรคพืชหลายชนิด
- ช่วยสนับสนุนการเกิดปมที่รากของพืชตระกูลถั่วและกระตุ้นการสร้างเมล็ด
- มีส่วนสำคัญในการเกิดน้ำมันพืชและสารระเหยให้หัวหอมและกระเทียม
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุกำมะถัน
- พืชจะแคระแกรนหยุดการเจริญเติบโต
- ใบอ่อนมีสีเขียวจางลง รวมทั้งเส้นใบจะมีสีจางลงด้วย แต่ในใบแก่จะยังคงมีสีเขียวเข้ม
- ถ้าพืชขาดธาตุกำมะถันมาก พืชจะพัฒนาการเจริญเติบโตได้ช้า
- ลำต้นพืชจะสั้นและแคบเข้า ใบยอดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
- ในพืชตระกูลถั่ว การตรึงธาตุไนโตรเจนที่ปมรากจะลดลงทั้งขนาดและจำนวนปม
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุกำมะถัน
- ในดินที่มีของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.0-6.0
- ในดินที่มีค่าอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1%อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งสำรองของธาตุกำมะถัน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์
- ผลจากการหักล้างถางพงป่ามาเป็นพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรจะทำให้ดินสูญเสียอินทรีย์วัตถุเร็วขึ้น
- การใช้ปุ๋ยสูตรที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง จะทำให้เกิดการขาดธาตุกำมะถัน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม
ฟอสเฟต (MAP) ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต(DAP) หรือ ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต(TSP)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น