อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร เนื่องจากกรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่มีพวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( 0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม) - นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำตาล ผลไม้เปลือกแข็ง(ทุกชนิด) ไขมัน 2. อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม) - เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากระพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ใบขี้เหล็ก สะตอ ข้าวโอ๊ต ผักโขม เมล็ดถั่วลันเตา หน่อไม้
3. อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป) * อาหารที่ควรงด - หัวใจไก่ ไข่ปลา ตับไก่ มันสมองวัว กึ๋นไก่ หอย เซ่งจี้(หมู) ห่าน ตับหมู น้ำต้มกระดูก ปลาดุก ยีสต์ เนื้อไก่,เป็ด ซุปก้อน กุ้งชีแฮ้ น้ำซุปต่าง ๆ น้ำสกัดเนื้อ ปลาไส้ตัน ถั่วดำ ปลาขนาดเล็ก ถั่วแดง เห็ด ถั่วเขียว กระถิน ถั่วเหลือง ตับอ่อน ชะอม ปลาอินทรีย์ กะปิ ปลาซาดีนกระป๋อง การกำหนดอาหาร อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้ สารอาหารครบถ้วน และงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมากดังกล่าวแล้ว 1. พลังงาน ผู้ป่วยที่อ้วน จำเป็นต้องจำกัดพลังงานในอาหาร เพื่อให้น้ำหนักลดลงทั้งนี้ เนื่องจากความอ้วน ทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น แต่ต้องระมัดระวังในระยะที่มีอาการรุนแรง ไม่ควรให้อาหารที่มีพลังงานต่ำเกินไป เพราะอาจทำให้มีการสลายของไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งจะทำให้สารยูริคถูกขับออกจากร่างกายได้น้อย และอาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้นได้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่ควรอดอาหาร และควรได้พลังงานประมาณวันละ 1,200-1,600 แคลอรี่ 2. โปรตีน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารโปรตีนตามปรกติ ไม่เกิน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารพิวรีนมาก 3. ไขมัน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่มีไขมันให้น้อยลง โดยจำกัดให้ได้รับประมาณวันละ 60 กรัม เพื่อให้น้ำหนักลดลง การได้รับอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จะทำให้มีการสะสมสารไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น ซึ่งการมีสารไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น จะทำให้ขับถ่ายสารยูนิคได้ไม่ดี และพบว่า ผู้ป่วยที่อ้วน และมียูริคในเลือดสูง เมื่อลดน้ำหนักลง กรดยูริคในเลือดจะลดลงด้วย 4. คาร์โปไฮเดรท ควรได้รับให้พอเพียงในรูปของข้าว แป้งต่าง ๆ และผลไม้ ส่วนน้ำตาลไม่ควรกินมาก เพราะการกินน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขับถ่ายสารยูริคด้วย 5. แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้ามาก ๆ เพราะการเผาผลาญแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกรดแลคติคเกิดขึ้น และมีการสะสมแลคเตตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กรดยูริคถูกขับถ่ายได้น้อยลง การจัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่แพทย์ให้จำกัดสารพิวรีนอย่างเข้มงวด ผู้จัดต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งในด้านโภชนาการ และรสชาติ ลักษณะอาหาร เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ตามที่กำหนด และได้รับสารอาหารเพียงพอ 1. ในระยะที่มีอาการรุนแรง ควรงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมาก ในระหว่างมื้ออาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มาก ๆ จะช่วยขับกรดยูริค ช่วยรักษาสุขภาพของไตและป้องกันมิให้เกิดก้อนนิ่ว พวกยูเรตขึ้นได้ที่ไต 2. งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่าง ๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด และขนมหวาน ที่มีน้ำตาล และไขมันมาก 3. จัดอาหารที่มีใยอาหารมาก แก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้ำหนักลดลง 4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้ามีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น 5. อาหารที่มีไขมันมาก จะทำให้ขับกรดยูริคน้อยลง ทำให้มีการคั่งของกรดยูริคในเลือดมากขึ้น
ที่มา เว็บไซต์โรงพยาบาลวิภาวดี โดย นพ.สุเมธ เถาหมอ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น