วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แคลเซียม

แคลเซียม

แคลเซียม ( Calcium ) เป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย คือประมาณ 1,250 กรัม ซึ่งร้อยละ 55 จะอยู่ในกระดูกและฟัน โดยจับกันเป็นผลึกอยู่กับฟอสฟอรัส เป็นเกลือ Calcium Phosphates ดังนั้น เวลากล่าวถึง Calcium ในร่างกาย จึงมักนึกถึงเฉพาะกระดูก ทั้งที่จริงแล้วยังมีแคลเซียมอีกส่วนอยู่ในเลือดโดยจับอยู่กับโปรตีนในเลือดและอยู่เป็นแคลเซียมอิสระ

หน้าที่ของ calcium
นอกจากจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกแล้ว ยังมีหน้าที่อื่นๆ อีกได้แก่ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อระบบประสาท ทำให้เกิดการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อทั่วไป รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจให้เป็นไปตามปกติ นอกจากนั้น calcium ยังเป็นตัวกระตุ้นการทำงานของโปรตีนอื่นๆ เช่น Osteocalcin ซึ่งเป็น corboxylated- glutamic acid ให้จับกับ แคลเซียมของ Hydroxyapatite ช่วยในกระบวนการสร้างและสลายกระดูก เรื่องที่สำคัญอีกอย่าง คือ แคลเซียมจากกระดูกยังทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของกรดและด่างในร่างกายด้วย

ความสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย
แม้ว่า แคลเซียม ที่กระดูกดูเหมือนจะติดอยู่อย่างถาวร แต่อันที่จริงแล้วกระดูกจะมีการสลายออก (resorption) และยังสร้างขึ้นใหม่ (formation) อยู่ตลอดเวลา โดยขึ้นกับความสมดุลของฮอร์โมน หลายตัว ได้แก่ Parathyroid Hormone ( PTH ),Calcitonin (CT) และ 1,25[OH2]D3 ซึ่งช่วยให้มีการดูดซึมแคลเซียม ไม่ถูกละลายออกจากกระดูก และ Parathyroid hormone จะทำให้เกิดขบวนการ Resorption ขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาแต่เมื่ออายุมากขึ้นโดยเฉพาะในหญิงหลังหมดประจำเดือนอาจเกิดการขาดดุลของแคลเซียมอย่างรวดเร็วคือ มีกระบวนการสลายมากกว่าการสร้างเพราะการขาด estrogen ซึ่งช่วยยับยั้งการสลายของกระดูก ทำให้กระดูกเกิดการผุกร่อนเปราะและหักง่ายเรียกว่า”ภาวะกระดูกพรุน” ( Osteoporosis )

แหล่งให้และขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม
นมและผลิตภัณฑ์ของนมเป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะนมวัว กระดูกต่างๆก็เป็นแหล่งแคลเซียมเช่นกันโดยเฉพาะกระดูกปลาที่สามารถเคี้ยวกลืนได้ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาเล็กปลาน้อยของไทย เช่น ปลารากกล้วย ปลาซิว เป็นต้น นอกจากกระดูกแล้วเนื้อสัตว์และผักใบเขียวต่างๆก็มีแคลเซียมพอควร แต่แคลเซียมพวกนี้ถูกดูดซึมเข้าทางเดินอาหารได้น้อย เนื่องจากมีใยอาหารและ phytate (inositol phosphate) และ oxalate อยู่ซึ่งขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
นอกจากนี้ยังมีสารและยาบางชนิด ขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมด้วย เช่น Alcohol ยากันชัก ยาพวก tetracyclines เป็นต้น

ความต้องการแคลเซียม
ในคนปกติมีความต้องการแคลเซียมประมาณ 800-1500 มก./วัน สำหรับสตรีในระยะตั้งครรภ์และให้นมบุตรต้องการเพิ่มจากปกติอีก 400 มก./วัน ในวัยหมดประจำเดือนจนกระทั่งวัยสูงอายุในขณะนี้มีแนวโน้มต้องการถึง 1500 มก./วัน

การใช้แคลเซียม
การใช้แคลเซียมในรูปยาเม็ดแต่ละ prepatation จะให้ธาตุแคลเซียมไม่เท่ากัน เช่น
-
Ca lactate ให้ธาตุแคลเซียมได้ 13%
-
Ca gluconate ให้ธาตุแคลเซียมได้ 13%
-
Ca carbonate ให้ธาตุแคลเซียมได้ 13%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น