"ไคโตซานผงสูตรพิเศษ สำหรับสัตว์"
การใช้ประโยชน์จากไคโตซาน (CHITOSAN ) ปัจจุบันไคโตซาน ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมาก ทั้งในด้านวงการเกษตร อาหารเสริมสุขภาพ และอีกหลายๆวงการ เช่น
1. การใช้ไคโตซานกับพืชผักผลไม้ฯลฯ
ไคโตซานในด้านการเกษตรกรรมนั้น ได้มีการนำไคโตซานมาใช้เป็นอาหารเสริมให้แก่พืชเพื่อช่วยควบคุมการทำงานของพืชผลไม้และต้นไม้ให้ทำงานได้ดีขึ้นคล้ายๆกับการเพิ่มปุ๋ยพิเศษให้แก่พืชผักผลไม้ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในการป้องกันโรคที่เกิดจากจุลินทรีย์ และเชื้อราบางชนิดอีกด้วย ซึ่งตามคำโฆษณาบอกไว้ดังนี้
- ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและเสริมสร้างความแข็งแรงทุกส่วนของพืชทุกชนิด
- ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับ ระบบราก ใบ ดอก และผล
- ช่วยลดการหลุดร่วงของดอกและผล ทำให้ขั่วดอกและผลเหนียวขึ้น ป้องกันผลแตก
- ช่วยให้พืชผักและผลไม้ มีน้ำหนักดีขึ้น 30-80%
- ช่วยกระตุ้นต้นพืชสร้างสารลิกนิน และสร้างภูมิต้านทานโรค เพื่อป้องกันแมลง
- ช่วยป้องกันและยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคพืช เช่น โรครา ราน้ำค้าง ราสนิม ราแป้ง ใบจุด แอนแทรคโนส แบคทีเรีย ไวรัสที่ก่อโรคพืช เป็นต้น ฯลฯ
- ช่วยป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคซึ่งเกิดมาจากเชื้อจุลินทรีย์ในดิน ฯลฯ
- ช่วยปรับสมดุลย์สภาพดินที่เสียให้กลับดีขึ้นเรื่อยๆ ดินอุ้มน้ำได้ดี ร่วนซุย
- ทำให้ผลผลิตสูงขึ้นและมีคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอ
- ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานให้แก่เมล็ดพืชที่จะนำไปเพาะขยายพันธุ์ทำให้มีอัตราการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น และอัตราการงอกดีขึ้น
- ช่วยลดปริมาณ การใช้ปุ๋ยและสารเคมียาฆ่าแมลง ต่ำกว่า 30-50%
ทุกวันนี้เกษตรกรได้นำเอาผลิตภัณฑ์ไคโตซานไปใช้ประโยชน์กับพืชผักผลไม้หลายชนิดแล้ว เช่น หน่อไม้ฝรั่ง , ต้นหอม , คะน้า , แตงโม , ข้าว , ถั่ว , ข้าวโพด ตลอดจนไม้ดอกไม้ประดับที่มีราคาสูงหลายชนิด เช่น ดอกคาร์เนชั่น ดอกเยอบีร่าพันธุ์นอก ดอกแคดิโอลัสและดอกบานชื่นฝรั่ง เป็นต้น ฯลฯ
2. การใช้ไคโตซานในวงการประมงและอาหารสัตว์ ฯลฯ
ไคโตซาน ในวงการประมงนั้น ขณะนี้ได้มีการนำไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในด้านการยืดอายุการรักษา และเก็บถนอมอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และในขั้นต้นนี้ได้สกัดโปรตีนจากหัวกุ้งด้วยกระะบวนการย่อยด้วยแบคทีเรีย กรดแล็คติด (lectic acid bacteria) เพื่อนำโปรตีนนั้นมาใช้ในแง่เป็นสารเสริมคุณค่าอาหารและของว่างที่ทำจากสัตว์น้ำ การปรุงแต่งรส และกลิ่นในอาหารขบเคี้ยวที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น
นอกจากนี้ฝ่ายเอกชนหลายแห่งได้นำไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ วิธีการนั้นมีหลายรูปแบบ ได้แก่การคลุกกับอาหารเม็ด ในอัตราส่วนต่างๆกันเพื่อให้กุ้งกิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการไปกระตุ้นภูมิต้านทานโรคในตัวกุ้ง และเพื่อเป็นส่วนไปกระตุ้นการย่อยอาหารและการเจริญเติบโต ประโยชน์อีกด้านหนึ่งที่ผู้ขายโฆษณาไว้ก็คือ การช่วยให้เม็ดอาหารคงรูปอยู่ในน้ำได้นานกว่าโดยการเคลือบสารไคโตซานบนอาหารที่จะหว่านให้กุ้งกิน บางรายก็แนะนำให้เติมลงไปในน้ำเพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีอยู่เสมอ
ไคโตซาน ในด้านอาหารสัตว์ ในไก่เนื้อและสุกร ปัจจุบันไคโตซานใช้เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตในไก่เนื้อและสุกร ช่วยลดอัตราการป่วยของไก่และสุกรได้ดี ไก่และสุกรสุขภาพดีแข็งแรง อัตราการป่วยตายของไก่และสุกร ลดลง อีกทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนในการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มอีกด้วย และการวัดค่า FCR ก็ต่ำ ในปัจจุบันได้มีการนำสารไคโตซานนำเอาไปใช้กันอย่างแพร่หลายมากในกลุ่มของเกษตรกรฯลฯ
3. การใช้ไคโตซานในวงการแพทย์ฯลฯ
ไคโตซานที่ใช้ในการแพทย์และมีผลที่เชื่อถือได้ ได้ดำเนินการมาหลายปีแล้ว เช่น การใช้ประโยชน์โดยนำมาประกอบเป็นอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ทำผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น ครีมทาผิว ทำเป็นแผ่นไคโตซานเพื่อปิดปากแผลที่เกิดจากการผ่าตัดเฉพาะที่ ซึ่งพบว่าแผ่นไคโตซานจะช่วยให้คนป่วยเกิดการเจ็บปวดแผลน้อยกว่าการใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำมันวาสลินมาปิดแผลเหมือนที่เคยปฏิบัติมาในสมัยก่อน นอกจากนี้เวลาที่แผลปิดดีแล้วและมีการลอกแผ่นไคโตซานออก ยังสะดวกและง่ายกว่าการลอกแถบผ้าก๊อชเพราะจะไม่มีการสูญเสียเลือดที่เกิดจากการลอกแผ่นปิดแผลออกทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวดเท่ากับการใช้แถบผ้าก๊อซปปิดแผล นอกจากนี้ยังใช้ไคโตซานไปเป็นส่วนผสมของยาหลายประเภท เช่น ยาที่ใช้พ่นทางจมูกเพื่อบรรเทาอาการโรคทางเดินหายใจ http://poodangsiam.com/chitosanpowder.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น