ปูแดง,ปูแดง168,ปูแดงไคโตซาน,ปุ๋ยปูแดง,ไคโตซาน,ไคโตซานพืช,ไคโตซานสัตว์,อินทรีย์ปูแดง,สมุนไพรปูแดง,ผงชูรสปูแดง,Poodang,Kitozan,สารไคโตซาน,ตัวแทนจำหน่ายปูแดง,เกษตรปลอดสารพิษ,เกษตรชีวภาพ,ธุรกิจเกษตร,พืชโตไว,เพิ่มผลผลิต,ป้องกันโรค,ป้องกันแมลง,สารปรังปรุงดิน,ชาวสวนไร่นา,ลดปุ๋ย,โอกาสทางธุรกิจ,mlm,ขายตรง,รายได้เสริม,รายได้พิเศษ,ธุรกิจเครือข่าย โทรปรึกษาฟรี 083-0340025
วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
การเลือกไคโตซานที่มีคุณภาพดี
ปัจจุบันนี้มีสินค้าที่ทำจากไคโตซานจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมากมายหลายบริษัท แต่ละบริษัทก็มีสูตรที่คล้ายกันบ้างหรือบางบริษัทก็มีสูตรที่เฉพาะเจาะจงของบริษัทนั้นๆ แต่พื้นฐานของสินค้าทั้งหมดก็มาจากไคโตซานเหมือนกัน ที่จริงนั้นสินค้าที่ทำจากไคโตซานที่มีคุณภาพดีนั้นต้องมาจาก
1.ขั้นตอนการคัดเลือกวัตถุดิบที่ดี
2.การเลือกใช้ไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลเหมาะสมกับจุดประสงค์ของแต่ละการใช้งาน
3.วิธีการผสมและความสะอาดของการผลิต
1.ขั้นตอนการคัดเลือกวัตถุดิบที่ดี
วัตถุดิบที่ดีสำหรับการทำไคโตซานควรจะเป็นของสด เช่นเปลือกกุ้งสด, เปลือกปูสด ระหว่างที่นำมาผลิตต้องเก็บในอุณหภูมิไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ขั้นตอนในการสกัดโปรตีนออกมาต้องสกัดให้หมด เนื่องจากถ้ามีโปรตีนเหลือจะทำให้ไคโตซานเน่าเสียได้เมื่อทำเป็นสารละลาย ต้องสกัดแคลเซี่ยมและแร่ธาตุออกให้หมด เพื่อให้มีปริมาณกากเหลือน้อยที่สุด เพื่อที่จะได้ไคตินที่มีคุณภาพดี เมื่อนำไปผลิตต่อจะได้ไคโตซานคุณภาพดีที่สุด ไคโตซานที่มีคุณภาพดีควรมีค่า DD (DEGREE OF DEACETYLATION) มากกว่า 90 ขึ้นไป ค่า DD เป็นค่าที่แสดงให้เห็นว่าไคโตซานที่มีค่า DD สูงมากจะละลายได้ดีมากมีส่วนที่เป็นกากน้อย สารละลายที่ได้จะมีความใสสะอาดมาก ตรงกันข้ามกับไคโตซานที่มีค่า DD ต่ำจะละลายยากและมีความขุ่นมาก สารละลายที่ได้จะไม่ใสสะอาดเนื่องจากมีกากและส่วนที่ไม่ละลายมาก ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ผสมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการคุณภาพ เช่น อาหารคน , อาหารกุ้ง , สารเสริมภูมิคุ้มกันพืชทางใบ แต่สามารถนำไคโตซานที่มีค่า DD ต่ำมาใช้เป็นปุ๋ยผสมดิน , บำบัดน้ำเสียได้เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ไคโตซานที่มีค่า DD สูงมากนัก
ดังนั้นไคโตซานที่มีคุณภาพดีจะสังเกตุได้จากค่าDDที่สูง(ถ้าสามารถขอใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์จากผู้ขายได้จะดีมาก) มีเนื้อสารละลายที่ใสสะอาด , ไม่มีตะกอนและผลิตมาจากบริษัทที่เชื่อถือได้ว่ามีความชำนาญมีกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดได้มาตรฐาน เนื่องจากไคโตซานที่ไม่บริสุทธิ์เมื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจะเน่าเสียเร็ว มีความขุ่นสูง ละลายยากไม่คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป
2.การเลือกใช้ไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลเหมาะสมกับจุดประสงค์ของแต่ละการใช้งาน
ความต้องการใช้ไคโตซานในแต่ละจุดประสงค์นั้นขึ้นกับน้ำหนักโมเลกุลของไคโตซาน ซึ่งไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยจะมีสายสั้น ไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลมากจะมีสายยาว ในธรรมชาติไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างๆ จะคัดมาจากแต่ละส่วนของอวัยวะของ กุ้ง,ปู ซึ่งเปลือกของกุ้ง ปู แต่ละส่วนเมื่อทำเป็นไคโตซานเรียบร้อยแล้วจะมีน้ำหนักโมเลกุลไม่เหมือนกันเปลือกกุ้ง ปู ที่ถูกเก็บมาอย่างดีด้วยความเย็นจัดจะให้น้ำหนักโมเลกุลที่สม่ำเสมอมากกว่าเปลือกกุ้งปูตากแห้งที่ไม่ได้เก็บด้วยความเย็น เปลือกที่ตากแห้งจะมีเศษโปรตีนปนเปื้อนมากกว่าเปลือกสดจะทำให้ได้ไคโตซานที่มีคุณภาพต่ำกว่าการใช้เปลือกกุ้ง ปูสดมาผลิต
จุดประสงค์ในการคัดเลือกไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างๆมาใช้งาน ก็เพื่อที่จะต้องการให้ไคโตซานมีประสิทธิ์ภาพสูงที่สุดเหมาะกับจุดประสงค์นั้นๆ เช่นเมื่อต้องการใช้เคลือบเม็ดอาหารจะใช้ไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงและน้ำหนักโมเลกุลปานกลางเป็นส่วนใหญ่ ถ้าต้องการใช้กับพืชจะต้องใช้ไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำมากๆ หรือต้องนำไคโตซานไปย่อยอีกครั้งให้เป็นหน่วยย่อยระดับโอลิโกเมอร์ เพื่อที่ไคโตซานจะได้ถูกต้นไม้ดูดซึมได้ทางปากใบหรือแทรกซึมเข้าเซลล์ของพืชได้อย่างรวดเร็ว ไคโตซานที่เป็นหน่วยย่อยนี้จะต้องถูกออกแบบให้มีขนาดพอเหมาะที่จะเข้าไปทำงานที่ผนังเซลล์ และหน่วยของไคโตซานที่เล็กมากๆ จะทะลุทะลวงเข้าไปจนถึงนิวเคลียสของเซลล์พืช เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสร้างภูมิคุ้มกันของพืชให้สร้างสารต่างๆที่ช่วยป้องกันพืชจากสิ่งรบกวนภายนอกเช่น แมลง แบคทีเรีย และ เชื้อรา ที่เข้ามาทำลายพืชนั้นๆ ถ้าต้องการใช้ไคโตซานในการเคลือบผัก ผลไม้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาควรจะใช้ไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงมากๆ เนื่องจากไคโตซานจะกลายเป็นฟิล์มที่มีความเหนียวแน่นสูง เคลือบผักผลไม้ได้ดี ฟิล์มไคโตซานไม่ฉีกขาดง่าย
3. วิธีการผสมและความสะอาดของการผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยไคโตซานในแต่ละสูตรนั้นมีวิธีการผสมที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้งานและคุณสมบัติของสารละลายไคโตซานที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ
1) กรดอินทรีย์แต่ละชนิดที่ใช้ทำละลายไคโตซาน
2) กรรมวิธีการละลายไคโตซาน
3) อุณหภูมิที่ใช้ขณะทำการละลาย
4) ภาชนะที่ใช้ทำละลาย
5) การควบคุมไอออนของโลหะในสารละลาย
6) การกำจัดแบคทีเรียและเชื้อราที่ปนเปื้อนในสารละลาย
7) การควบคุมการผสมโดยผู้เชี่ยวชาญ
สารละลายไคโตซานที่ดีนั้นจะต้องมีความใสสะอาดสูง ปราศจากฝุ่นผงและกากของไคติน ไม่มีกลิ่นเหม็น มีความข้นเหนียวเหมาะสม กระบวนการทำละลายใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมในภาชนะปลอดสนิม ใช้น้ำที่ปราศจากไอออนในการทำละลายและผ่านขบวนการการกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียด้วยความร้อน ขั้นตอนทั้งหมดควรถูกควบคุมโดยผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญชำนาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับไคโตซานเป็นเวลานาน มีความน่าเชื่อถือ ผ่านการรับรองมาตราฐานคุณภาพได้อย่างดี
http://www.poodangsiam.com/chitosanpowder.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น