วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

 


จำหน่ายไคโตซาน ตราปูแดง สำหรับพืชและสัตว์ คุณภาพสูง รับประกันสินค้า 100% 

ไคโตซานพืช ชนิดน้ำ
ใช้กับพืชได้ทุกชนิด เช่น สวน ไร่ นา ไม้ดอก ไม้ประดับ ผลไม้ เป็นต้น
http://www.poodangsiam.com/Chitosan.html

ไคโตซานสัตว์ ชนิดน้ำ
ใช้ได้กับสัตว์ทุกชนิด เช่น ไก่ เป็ด หมู วัว ปู ปลา กุ้ง กบ เป็นต้น
http://www.poodangsiam.com/chitosananimal.html

ไคโตซานสำหรับพืชและสัตว์ ชนิดผง ใช้งานง่ายเข็มข้นสูง
http://www.poodangsiam.com/chitosanpowder.html
-----------------------------------------------------------------------
ประโยชน์ไคโตซานด้านการเกษตร
1. ไคโตซานกับพืชเป็น Plant Growth Regulator
ไคโตซาน เป็นโพลิเมอร์ชีวภาพที่พบได้ในส่วนที่เป็นผนังของเชื้อรา เช่น Fusarium Soloni หรือแมลง ดังนั้นการใช้อนุพันธ์ไคตินเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชโดยการกระตุ้นหรือยับยั้ง กระบวนการทางสรีระของพืชและเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของการดำรงชีพของพืชทางด้านต่างๆ เช่น
1.1. เร่งอัตราการเจริญเติบโต
1.2. ลดเวลาการเพาะปลูกลงและทำให้เกิดผลผลิตได้เร็วกว่าปกติ
1.3.สร้างความแข็งแรงของพืช ในการต้านลมและสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ทำให้รากงอกเร็วขึ้น มีจำนวนมาก สามารถยึดเกาะดินได้
1.4. ทำให้การงอกเมล็ดเร็วขึ้น และควบคุมวัชพืช
1.5. ทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นต่อพืชที่ปลูก
1.6. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงมากกว่า 50 %

2. ไคโตซานกับการเคลือบเมล็ด 
การใช้อนุพันธ์ไคตินและไคโตซานอย่างถูกต้องนำมาเคลือบเมล็ด แสดงผลต่ออัตราการงอกที่สูงขึ้น เวลาการงอกเร็วขึ้น เนื่องจากอนุพันธ์ไคตินและไคโตซาน ช่วยให้เกิดการป้องกันศัตรูพืชบางชนิด

3. ไคโตซานกับการกระตุ้นการเจริญเติบโตของราก
ช่วยพัฒนาระบบรากให้มีภูมิต้านทานโรค Root lodging ลดการเกิดปัญหากับโรคที่เกิดจากสารจำพวก Root-rotting โดยสารอนุพันธ์ของไคโตซาน จะช่วยให้เชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด ผลิตเอนไซม์ เพื่อย่อยสลายผนังเซลของเชื้อราโรคพืช ทำให้โอกาสที่จะมารบกวนหรือกระทำต่อรากน้อยลง

4. ไคโตซานใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติ
เนื่องจากโดยธรรมชาติอนุพันธ์ ไคโตซาน จะมีไนโตรเจนประมาณ7-10%จะถูกปลดปล่อยออกจากโมเลกุลอย่างช้าๆด้วยเอนไซม์ที่สิ่งมีชีวิต ผลิตขึ้นรวมทั้งอนุพันธ์ ไคโตซาน นั้นยังเป็นตัวตรึงไนโตรเจนไม่ว่าจากอากาศหรือจากดิน ในกรณีของเห็ดนั้น อนุพันธ์ ไคโตซาน จะเป็นตัวตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Co2 Fixation)

5. ไคโตซานกับการเคลือบผลิตผลทางการเกษตร
นับเป็นสิ่งที่ดีที่มีการเริ่มนำเอาอนุพันธ์ไคโตซานมาใช้ในการยืดอายุการเก็บผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งมีหลักและเหตุผลจากอนุพันธ์ไคตินที่ส่งผลดังกล่าวคือ เป็นสารป้องกันการเกิดเชื้อราที่ผิว อัตราการสูญเสียน้ำลดลง ช่วยลดการหายใจและการผลิตก๊าซเอธิลีน ทำให้บรรยากาศภายในมีการเปลี่ยนแปลงผิวและสีช้าลง ดังนั้นในการที่จะใช้อนุพันธ์ไคโตซานให้เหมาะสมควรดำเนินการใช้ก่อนการเก็บผลผลิต

6. ไคโตซานเพื่อต่อต้านเชื้อรา แมลง และสร้างภูมิต้านทานโรค
ไคโตซาน มีผลต่อการต้านทานและกำจัดเชื้อรา และแบคทีเรียบางประเภทได้หลายชนิด เช่น ไทรโคเดอร์มา ไฟทอปธอรา แอนแทรคโนส เมลาโนส โรครากเน่า-โคนเน่า ราน้ำค้าง ราขาว โรคแคงคอร์ โรคใบติด โรคใบจุดโรคใบสีส้มในนาข้าวและ อื่นๆ ซึ่งเกิดจากโครงสร้างทางประจุและสร้างเอนไซม์ซึ่งทำให้ย่อยสลายทำลายเชื้อรา-โรคพืชได้อย่างดีพบว่า ไคโตซานสามารถ เข้าสู่เซลล์เชื้อราและทำให้เกิดการยับยั้งการสร้างและสะสมของ RNAจึงทำให้เชื้อราถูกยับยั้งการเจริญเติบโตแต่ในเชื้อราบางประเภทและแบคทีเรีย บางชนิดที่มีประโยชน์จะมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อใช้อนุพันธ์ไคติน และ ไคโตซาน เช่น ในการใช้กับเห็ด ทั้งนี้ยังช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค โดย ไคโตซานจะไปกระตุ้น DNA ในนิวเคลียสพืชในการสร้าง Gene ซึ่งควบคุมระบบภูมิคุ้มกันโรค และมีผลต่อการสร้างสารลิกนิน (Lignin) ในพืช ซึ่งจะพบเห็นด้วยตาเปล่าจาก Wax ที่เคลือบบนใบพืช
----------------------------------------------------------------

ไคโตซานสำหรับสัตว์ สกัดจากเปลือกกุ้งและใช้สำหรับเคลือบอาหารสัตว์ ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์และผู้บริโภค ไม่มีสารตกค้าง ไคโตซาน ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อสัตว์ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต และช่วยให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง เปลือกสวย เป็นมัน เนื้อแน่น และยังช่วยให้สัตว์ทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ทนต่อการรุกรานของโรค ไคโตซาน ใช้ร่วมกับ ยา วิตามิน และแร่ธาตุโดยไม่ลดประสิทธิภาพ
-เคลือบอาหารสัตว์ ลดการละลาย
-ลด FCR อัตราแลกเนื้อดี
-ลดการเน่าเสียของน้ำจากเศษอาหาร
-เร่งการสร้างเนื้อสัตว์
-กระตุ้นการเจิรญเติบโต
-เพิ่มความต้านทานโรค
----------------------------------------------------------------
www.poodangsiam.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น