นอกจากการปลอมบัตรเครดิตแล้วสิ่งที่เป็นภัยที่บุคคลทั่วไปไม่ควรจะมองข้ามก็คือ การใช้บริการตามตู้เอทีเอ็มทั่วไป เพราะปัจจุบันปรากฏว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพคิดรูปแบบการโกงขึ้นมาใหม่โดยใช้เครื่องมือซึ่งเป็นพลาสติกสวมครอบไปในช่องเสียบบัตรเพื่อดูรหัสบัตรเอทีเอ็ม หรือบางกลุ่มก็ใช้พลาสติกครอบแป้นกดรหัสเพื่อดูรหัสส่วนตัว เมื่อมีผู้เข้าไปใช้บริการแล้วจะไม่มีใครสังเกตแต่เมื่อกดรหัสส่วนตัวไปแล้วเงินจะไม่ออกก็จะไม่มีใครสนใจว่าสาเหตุเกิดจากอะไร
“เรื่องนี้เป็นอันตรายมาก พวกมิจฉาชีพมีวิธีการที่เอารหัสส่วนตัวแล้วนำไปปลอมบัตรจากนั้นก็จะสุ่มเสี่ยงกดเงินออกไป กรณีนี้มีผู้เสียหายหลายร้อยคนเข้ามาร้องเรียนแต่ท้ายสุดก็ตามจับกุมได้อย่างลำบาก”
ผู้บังคับการ ปศท.อธิบายอีกว่า นอกจากนี้ มีข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้บริการตู้เอทีเอ็มทุกคนอีกประการหนึ่ง คือ อย่าได้ประมาท นั่นคือเมื่อคุณกดเอทีเอ็มอยู่ แล้วมีคนอยู่ด้านหลังให้ระวังไว้ เพราะพวกนี้อาจเป็นแก๊งมิจฉาชีพที่แฝงตัวมา ซึ่งพวกนี้จะรู้เทคนิคในการจำรหัสจากการกดปุ่มหน้าจอ
ถ้าสังเกตเวลากดเอทีเอ็มจะมีเสียงซึ่งถ้าใครหูดีๆ จะจำได้ว่ากดเลขอะไรไปบ้างใน 4 ตัว เพราะส่วนใหญ่แล้วร้อยละ 70% ของผู้ที่กดเงินจากตู้เอทีเอ็ม จะทิ้ง Slip เงินลงขยะ มันก็กลายเป็นประโยชน์ของผู้ที่คิดชั่วร้าย คือเขาเอา Slip นั้นมาใช้ประโยชน์จากเงินในบัญชีของคุณเอง
“สลิปมีเลขที่บัญชีสิบตัวปรากฏอยู่ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีการโอนเงินทางโทรศัพท์ โดยมีผู้ไม่ประสงค์ดีนี้จะโทร.ไปยังธนาคาร เพื่อโอนเงินผ่านทางโทรศัพท์ตามหมายเลขแล้วแต่ธนาคาร เขาก็จะได้จาก Slip ของผู้ที่ทิ้งไว้แล้ว เมื่อกดเลขบัญชีธนาคารเสร็จจะมีการให้ใส่รหัสประจำตัวสี่ตัว เมื่อกดเงินนั้นเขาก็จะจำไว้แล้วว่าหมายเลขอะไร จากนั้นก็กดหมายเลขนั้นลงไป เท่านี้เขาก็โอนเงินเข้าบัญชีของเขาได้ตามที่เขาต้องการ ข้อแตกต่างคือ ถ้าโอนเงินทางโทรศัพท์จะสามารถโอนเงินได้สูงสุด 5 แสนบาทต่อครั้ง ต่างจากเอทีเอ็มมาก ดังนั้น ถ้าใครมีเงินในบัญชีมากๆ ให้ระวังเอาไว้ด้วย หรือเขาอาจไม่เอาไปมากๆ ถ้าเขาเอาไปประมาณครั้งละห้าร้อย พันบาท ดังนั้นเมื่อกดเงินแล้วก็ให้เก็บสลิปไว้กับตัวจะดีที่สุด”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น