นิสัยขี้ใจร้อน
+ อันตรายของคนที่มีนิสัยแบบนี้คือโรคแผลในกระเพาะอาหาร นักวิจัยจากอินสติติวท์ ออฟ ออกคิวเปชันนัล เฮลท์ของฟินแลนด์ ศึกษากลุ่มตัวอย่างกว่า 4,000 คน และพบว่า
+ คนที่หุนหันพลันแล่นมีความเสี่ยงเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารสูงกว่าคนอื่นๆ 2.4 เท่า ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อความเครียดด้วยการผลิตกรดออกมามากกว่าปกติ และเป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
+ มีปัญหาในการควบคุมการกินอาหาร นอกจากนั้นยังพบว่า นิสัยขี้โมโหเกี่ยวพันอาจทำให้มีพฤติกรรมการกินมาก หรือน้อยเกินปกติ จนทำให้ร่างกายขาดความสมดุลในการรับสารอาหาร เป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ตามมา
ขี้กังวล
+ มีแนวโน้มเป็นความดันโลหิตสูงกว่าคนปกติสามเท่าการศึกษาของมหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นแอริโซนา ชี้ว่า สาเหตุอาจมาจากฮอร์โมนความเครียด
+ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ขณะเดียวกัน ผู้หญิงที่ขี้กลัว เช่น กลัวความสูง จะส่งผลให้ร่างกายมีความดันโลหิตและการสะสมคลอเรสเตอรอลสูง ทำให้เสี่ยงต่อระบบหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจผิดปกติ
+ อาจตายในสิบปี ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาของมหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป เบลเยียม ยังพบว่า 27% ของคนขี้กังวล ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายในช่วงเวลา 10 ปี ของการรับการบำบัดโรคหัวใจ ซึ่งสูงกว่าความเสี่ยงในเกณฑ์มาตรฐาน 7% ของคนทั่วไป
นิสัยก้าวร้าว
+ ระวังความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ คนที่ก้าวร้าวมักตอบสนองต่อความเครียดทั้งทางร่างกายจิตใจอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด งานวิจัยชิ้นหนึ่งจากสก็อตแลนด์ที่ระบุว่า อาการหลอดเลือดแข็งมักพบกับคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
+ ร่างกายฟื้นตัวช้า ความไม่เป็นมิตรยังสร้างแนวโน้มปัญหาสุขภาพรุนแรงหลายโรค ข้อเท็จจริงนี้สอดคล้องกับงานศึกษาอีกชิ้นจากสหรัฐอเมริกา ที่แสดงให้เห็นว่าคนที่มีนิสัยก้าวร้าวเสี่ยงต่ออาการอักเสบเรื้อรังทั่วร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคมากมาย เช่น โรคหัวใจ สาเหตุอาจเนื่องมาจากการมีโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกันที่เชื่อมโยงกับการอักเสบมีสูงกว่าคนปกติ ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอยังเพิ่มเติมว่า คนที่ชอบกราดเกรี้ยวใช้เวลาเยียวยาบาดแผลนานกว่าปกิอีกด้วย
+ มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า งานวิจัยอีกชิ้นจากอเมริกาชี้ว่า คนก้าวร้าวมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการซึมเศร้ารุนแรงจิตตก และมีโอกาสทำร้ายร่างกายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายสูง
ขี้อาย
+ ติดเชื้อไวรัสง่าย งานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียระบุว่า คนขี้อายมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส โดยในการศึกษาจากสัตว์พบว่า สัตว์ที่ชอบอยู่รวมกับฝูงมีต่อมน้ำเหลืองที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าสัตว์ที่ขี้อาย ต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย มีหน้าที่ช่วยทำลายเชื้อโรคที่สามารถแพร่เชื้อ เช่น เชื้อไวรัส ดังนั้นสุตว์ หรือบุคลที่ระบบไม่ทำงานเต็มประสิทธิภาพจึงขาดภูมิคุ้มกัน ทำให้ติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย
เงียบขรึม
+ เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจ คนที่มีอาการซึมเศร้านอกจากจะประสบปัญหาทางอารมณ์แล้ว ยังถูกปิดกั้นทางความรู้สึกโดยไม่รู้ตัว ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยังระบุว่า หากคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ จะมีอัตราเสียชีวิตสูงขึ้น สาเหตุสืบเนื่องมาจากปัญหาในการควบคุมฮอร์โมนความเครียดไม่สมดุล ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง และเส้นเลือดอุดตัน ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่มีลักษณะนิสัยแบบนี้ยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต้องทำงานหนัก จึงมีการอักเสบมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อเส้นเลือด
ประสาท
+ ระวังโรคหอบหืด ปวดศรีษะ แผลในกระเพาะอาหาร และโรคหัวใจ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแจงว่า คนที่มีนิสัยแบบนี้ชอบโทษตัวเอง และเป็นปฏิปักษ์มากกว่าพยายามขอความช่วยเหลือและกำลังใจจากคนอื่น จึงมีแนวโน้มเครียดสูง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันด้อยประสิทธิภาพ และอ่อนแอต่อโรค หรืออาจเป็นเพราะคนที่มีอาการทางประสาทมักซึมเศร้า ซึ่งมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
มองโลกแง่ร้าย
+ อาจอายุสั้น และเป็นโรคพาร์คินสัน คนแบบนี้มีความเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับคนที่มองโลกแง่ดี ดร.เจมส์ โบเวอร์ จากมาโย คลินิกในอเมริกา พบว่าคนที่มองโลกแง่ร้ายและมีความกังวลสูง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคพาร์คินสันในวัยชรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น